หมวดหมู่: บริหาร-จัดการ

PwC Sira


ศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูงของ PwC ประเมินอนาคตอาเซียนยังมีความท้าทายรออยู่

        ศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูงของ PwC เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดประจำปี 2561 ในหัวข้อ ‘The Future of ASEAN – Time to Act’ โดยนำเสนอมุมมองต่อนโยบายที่รัฐบาลในกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ควรต้องพิจารณา เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ภูมิภาคนี้จะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง และมีกลยุทธ์สำหรับการเติบโตในอนาคตซึ่งครอบคลุม 7 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน อุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภค อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมขนส่ง

 

อาเซียนเติบโตอย่างมีเอกลักษณ์

       กลุ่มประเทศสมาชิกของอาเซียน ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เพิ่งเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งไปเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของการรวมตัวครั้งสำคัญของอาเซียนที่ครั้งหนึ่ง ความขัดแย้ง และความยากจน เคยเป็นคุณลักษณะที่ใช้อธิบายภูมิภาคนี้ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20

      มาถึงวันนี้ ไม่เพียงแต่อาเซียนจะมีจำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวหลังจากวันที่ก่อตั้ง แต่ยังสามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์การเงินในเอเชียปี 2540 หรือ วิกฤตต้มยำกุ้ง และวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2551-2552 มาได้ จนกลายเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกอยู่ปัจจุบัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาเซียนยังได้สร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ส่งผลให้ประชากรหลายล้านคนทั่วทั้งภูมิภาค หลุดพ้นจากความยากจน

       อย่างไรก็ดี ปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้น ผลิตภาพแรงงานที่อ่อนแอ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การพึ่งพาการค้าภายจากภายนอกที่มากเกินไป และจุดบอดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญๆ และการขาดตัวกลางที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจในระดับประเทศที่เพียงพอ ยังคงเป็นคำถามสำคัญที่ท้าทายการเติบโตอย่างยั่งยืนของอาเซียนในอนาคต

 

ถึงเวลาลงมือปฏิบัติเพื่อการเติบโต

       ทั้งนี้ รายงาน ‘The Future of ASEAN – Time to Act’  ได้นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิภาคอาเซียนให้หลุดพ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเชื่องช้า รวมทั้งการเพิ่มมาตรการเชิงรุกเพื่อดึงดูดการลงทุน พัฒนาสถาบันการเงิน รวมทั้งบุคลากร และขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยยังชี้ว่า ภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในระยะต่อไป แต่นั่นแปลว่า ภาคเอกชนจะต้องทำงานใกล้ชิดกับภาครัฐเพื่อพัฒนาและกำหนดเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจให้มากขึ้น นอกเหนือจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

        เมื่อมองไปข้างหน้า เราเห็นโอกาสการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของภาคเอกชนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน อุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภค อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมขนส่ง อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้จะต้องนำกลยุทธ์ทางด้านนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับการดำเนินงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ และเพื่อรับมือกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ อีกทั้ง ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาค

 

กลยุทธ์ใหม่เหล่านี้อาจถูกจัดให้อยู่ใน 3 หมวดหมู่ ได้แก่

1.     การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารให้เป็นแบบท้องถิ่น: การเปลี่ยนแปลงวิธีการไปสู่ระดับท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การจัดหาแหล่งผลิต และการจัดจำหน่าย ผ่านการพัฒนาให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในการปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์และการบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคอย่างแท้จริง (เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์)

2.     การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัล: การนำความสามารถทางด้านดิจิทัลมาใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิต การขนส่งสินค้าและบริการ รวมถึง การสื่อสารกับผู้บริโภคและกลุ่มธุรกิจ (เช่น อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน อุตสาหกรรมสินค้าผู้บริโภค และอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม)

3.     การมีหุ้นส่วนและพันธมิตรทางธุรกิจ: การพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจ ผ่านการมีหุ้นส่วน หรือจับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่น และ ผู้ประกอบการที่กำลังเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม (เช่น ฟินเทค) เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และ รักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งยังสามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคได้ในระดับที่ธุรกิจจะมีกำไร (เช่น อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง และอุตสาหกรรมขนส่ง)

       นาย เดวิด วิเจอร์ราตน่า หุ้นส่วน และ หัวหน้าฝ่ายงานศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูง บริษัท PwC ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า

       “เป็นที่น่าภาคภูมิใจว่า อาเซียนประสบกับความสำเร็จมากมายในช่วงระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา แต่ตอนนี้หมดเวลาของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบเชื่องช้าแล้ว เศรษฐกิจโลกกำลังต้องการให้อาเซียนเข้ามาช่วยเติมเต็มศักยภาพ และคว้าโอกาสของการเติบโตในอนาคต ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกฝ่ายจะต้องลงมือปฏิบัติ”

 

ข้อความถึงบรรณาธิการ:

      ศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูงของ PwC เป็นทีมงานระดับโลก ที่ช่วยนำทางบริษัทให้ผ่านพ้นความสลับซับซ้อนของการเข้าสู่ตลาดที่กำลังพัฒนา รวมทั้งการขยายตลาดไปในและออกจากตลาดที่กำลังพัฒนา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ นาย เดวิด วิเจอร์ราตน่า หัวหน้าฝ่ายงานศูนย์วิจัยตลาดเติบโตสูง หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.pwc.com/gmc

เกี่ยวกับ PwC

        ที่ PwC เป้าประสงค์ของเรา คือ การสร้างความไว้วางใจในสังคมและช่วยแก้ปัญหาสำคัญให้กับลูกค้า  เราเป็นหนึ่งในบริษัทเครือข่าย 158 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 236,000 คนที่ยึดมั่นในการส่งมอบบริการคุณภาพด้านการตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษาทางธุรกิจ กฎหมายและภาษี  สำหรับประเทศไทย บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจไทยมานานกว่า 59 ปี PwC ผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการทำงานกับลูกค้าข้ามชาติ ผนวกกับความเข้าใจตลาดภายในประเทศเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อเสียงของ PwC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจต่างๆ โดยปัจจุบัน มีบุคลากรกว่า 1,800 คนในประเทศไทย

       PwC refers to the PwC network and/or one or more of its member firms, each of which is a separate legal entity. Please see www.pwc.com/structure for further details.

       © 2018 PwC. All rights reserved

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!