หมวดหมู่: กสทช.

NBCTฐากร ตณฑสทธ3


สมาคมทีวีดิจิทัล หารือด่วนกสทช.ใกล้เดดไลน์จ่ายค่าไลเซ่น หลังยังไม่มีคำสั่งม.44/กสทช.เผยมีเวลา 90 วัน

       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ช่วงเย็นเมื่อวานนี้ (21พ.ค.) นายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ได้เข้าหารือ เพื่อขอคำแนะนำ กรณียังไม่มีการประกาศมาตรา 44 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล แต่จะถึงโดยกำหนดที่ผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมใบใบอนุญาตงวดที่ 5 ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ โดยตนได้ให้คำแนะนำว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินให้ผู้ประกอบการนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัลงวดที่ 5 ได้ถึงเวลา 16.30 น. โดยล่าสุดเมื่อวานนี้ (21พ.ค.) สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ได้นำเงินมาชำระค่าใบอนุญางวดที่ 5 แล้ว

       อย่างไรก็ตาม หากครบกำหนดชำระแล้วไม่มีผู้ประกอบการมาชำระค่าธรรมเนียม สำนักงานฯ จะออกหนังสือแจ้งเตือน ครั้งที่ 1 ให้ผู้ประกอบการมาชำระภายใน 30 วัน เมื่อครบกำหนด 30 วันแล้ว หากผู้ประกอบการยังไม่นำเงินมาชำระอีก จะทำหนังสือแต้งให้มาชำระเงินอีกครั้ง เมื่อครบ 90 วันแล้วยังไม่มีการชำระจะนำเรื่องเข้าพิจารณาในที่ประชุมบอร์ดเพื่อออกคำสั่งทางปกครองในการพักใช้ใบอนุญาตครั้งละ 30 วันจนกว่าผู้ประกอบการจะนำเงินมาชำระ

      ด้านนายสุภาพ กล่าวว่า เมื่อยังไม่มีประกาศมาตรา 44 ผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่ 5 ตามกำหนด ส่วนการพักชำระค่าธรรมเนียมสามารถทำได้ในงวดถัดไป ตามแนวทางของมาตรการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและประกาศมาตรการออกมาต่อไป

กสทช. เผยช่องสปริงนิวส์ - Nation TV ยังโฆษณาอาหารเสริมผิดกฎหมาย

     กสทช. เดินหน้าสั่งระงับการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ทั้งอาหารและเครื่องสำอางต่อเนื่อง พบจำนวนช่องที่ออกอากาศลดลง ทีวีดิจิทัลเหลือเพียง 2 ช่อง คือช่องสปริงนิวส์ - Nation TV

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) พร้อมด้วยนายแพทย์วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำงานร่วมกันเพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายทางสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์ ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. เป็นต้นมา มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยจำนวนช่องที่มีการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมายมีจำนวนลดลง

       นายฐากร เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 16-18 พ.ค. 2561 พบว่า มีทีวีดิจิทัลเพียง 2 ช่องที่ออกอากาศโฆษณาอาหารและเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ ช่องสปริงนิวส์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร REAL อัลฟ่า คลอโรฟิลล์ และช่อง Nation TV ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชาริส ส่วนช่องโทรทัศน์ดาวเทียม/เคเบิลทีวี มีทั้งหมด 10 ช่อง รวม 13 ผลิตภัณฑ์ แต่การโฆษณาในฝั่งเว็บไซต์มีจำนวนเพิ่มขึ้น 20 URL ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ามีผลกับโครงสร้างของร่างกาย การเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อ้างสรรพคุณเพื่อการรักษาโรค

      ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากวันที่ 4-15 พ.ค. 2561 ซึ่งเป็นสัปดาห์แรกที่ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือกัน สำนักงาน กสทช. ได้ระงับการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมายในทีวีดิจิทัลไปแล้วจำนวน 7 ช่อง รวม 13 ผลิตภัณฑ์ ช่องโทรทัศน์ดาวเทียม/เคเบิลทีวีจำนวน 25 ช่อง 22 ผลิตภัณฑ์ และเว็บไซต์จำนวน 10 URL

       “หลังจากสำนักงาน กสทช. และ อย. ได้ทำงานร่วมกันเพื่อระงับการออกอากาศโฆษณาที่ผิดกฎหมายพบว่า ขณะนี้ทิศทางเริ่มดีขึ้น จำนวนโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่ไปออกช่องทีวีดิจิทัลเริ่มลดลง ยังคงมีเว็บไซต์ที่อาจเพิ่มขึ้น แต่ทั้งสองหน่วยงานจะยังทำงานร่วมกันติดตามโฆษณาเหล่านี้อย่างเข้มข้น ผมเชื่อว่าในช่วง 1-2 เดือนจากนี้แนวโน้มโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ผิดกฎหมายที่ออกอากาศผ่านโทรทัศน์จะมีจำนวนลดลง” นายฐากร กล่าว

      ด้าน ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจะพบว่าโฆษณาที่ผิดกฎหมายอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาว่าเป็นยารักษาโรค ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ ส่วนเครื่องสำอางจะเป็นลักษณะการโฆษณาที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย เช่น การปรับสีผิว ผิวขาว หยุดผมร่วง เป็นต้น ส่วนโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่พบเป็นเรื่องการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งได้ส่งเรื่องให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการแล้ว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!