หมวดหมู่: อุตสาหกรรม

1aaa7aSSC


ก.อุต ลุยเวียดนามศึกษาดูงานการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนของนักธุรกิจไทย

     นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหาร สื่อมวลชนสายเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ศึกษาดูงานความก้าวหน้าและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม การลงทุนของนักธุรกิจไทย ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

        รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเดินทางมายังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระหว่างวันที่ 8 - 10 มิถุนายน 2561 เพื่อมาศึกษาดูงานความก้าวหน้าและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม การลงทุนของนักธุรกิจไทยในเวียดนาม โดยได้เยี่ยมชมโรงงานด้านการผลิตอาหาร ซี.พี.เวียดนาม (C.P. Vietnam Corporation) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทสัญชาติไทยที่มีโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 2 โรงงาน ใช้เทคโนโลยีการผลิตอาหารที่ทันสมัยและปลอดภัย ในแต่ละปีบริษัท ซี.พี. เวียดนาม ได้แปรรูปอาหารทะเลและส่งออก ปริมาณ 20,000 ตัน ไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮ่องกง จีน และยุโรป เป็นต้น

      ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามยังมีการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบให้ได้ถึง 25-30 ล้านตันต่อปี ภายในปี 63 ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพลังงานชาติ ซึ่งบริษัท SCG ได้เข้าไปถือหุ้นในโครงการปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเวียดนาม โดยโครงการตั้งอยู่เมืองบาเหรี่ยะ-หวงเต่า คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 65 นอกจากที่บริษัท SCG ได้เข้าไปถือหุ้นในโครงการปิโตรเคมีของเวียดนามแล้ว บริษัทในเครือ อาทิ บริษัท TPC VINA Plastic & Chemical ที่ดำเนินธุรกิจผลิตในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ ตามโครงการส่งเสริมการลงทุนของเวียดนามด้วย

      นอกจากนี้ กลุ่มอมตะของไทย (Amata VN PCL) กับบริษัท ต่วน โจว ของเวียดนาม ได้มีการร่วมลงทุนเพื่อก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ฮาลอง จังหวัดไฮฟอง ทางตอนเหนือของกรุงฮานอย บนพื้นที่กว่า 4 พันไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมทั่วไปและกลุ่มไฮเทค และอมตะยังมีโครงการพัฒนา อีก 2 โครงการใหญ่ คือ โครงการอมตะ ซิตี้ ฮาลอง เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ในตลาดจีนและทั่วโลก และโครงการอมตะ ซิตี้ ลองถั่น เพื่อพัฒนาพื้นที่และเปิดขายพื้นที่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค และออโตเมติก เป็นต้น

       นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ซึ่งการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ จะนำข้อมูลที่ได้ไปบูรณาการในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ที่ไทยมีเป้าหมายจะเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลแปรรูปอันดับต้นของโลกเหมือนอย่างเช่นเวียดนาม และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ซึ่งเวียดนามได้สนับสนุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย ที่เป็นส่วนที่เหลือจากการผลิตเชื้อเพลิง นับว่าสามารถนำแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรม มาใช้กับพัฒนาเคมีชีวภาพของไทยได้

 

ทุนไทยบุกเวียดนาม SCG ทุ่ม 1.7 แสนล้านตั้งรง.ปิโตร

         แนวหน้า : นายสมชาย หาญหิรัญรมช.อุตสาหกรรมได้เดินทางไปดูงานที่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมดูความก้าวหน้า และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม การลงทุนของนักธุรกิจไทยในเวียดนาม

       รมช.อุตสาหกรม กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนาม ยังมีการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีเป้าหมาย เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบให้ได้ถึง 25-30 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2563 ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาพลังงานชาติ ล่าสุดบริษัท เอสซีจี ได้เข้าไปถือหุ้นในโครงการปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเวียดนาม มูลค่าการลงทุน 173,000 ล้านบาท โดยโครงการตั้งอยู่เมืองบาเหรี่ยะ-หวงเต่า อยู่ห่างจากเมืองโฮจิมินห์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 100 กิโลเมตร คาดว่า จะแล้วเสร็จในปี 2565 ทำให้เอสซีจีเป็นผู้ลงทุนไทยอันดับหนึ่ง ในเวียดนาม

     นอกจากนี้ เอสซีจี แล้ว ยังมีบริษัทรายใหญ่ ไปลงทุนอย่าง เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี), กระทิงแดง, เครือเบทาโกร, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ นอกจากนี้กลุ่มอมตะของไทย ลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในเวียดนาม

        รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการหารือกับนักลงทุนไทยที่ลงในเวียดนามพบว่าส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ลงทุน ส่วน ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังเข้ามาลงทุนน้อยมาก ประเด็นนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณามาตรการส่งเสริมเพิ่มเติมที่อำนวยความสะดวกต่อการลงทุนมากขึ้น เพราะปัจจุบันธุรกิจที่เอสเอ็มอีไทยควรเข้ามาลงทุนมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารทะเลแปรรูป เพราะมีจุดเด่นด้านต้นทุนการผลิต ค่าแรงที่ยังถูก ผลิตผลทางการเกษตรจำนวนมาก และเวียดนามยังเปิดประเทศด้านการค้า มีการลงนามเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ) กับหลายประเทศ ทั้งยุโรป และล่าสุดมีการลงนามกับประเทศในอเมริกาใต้ อาทิ ชิลี ทำให้ภาษีเป็นศูนย์เป็นประโยชน์กับนักลงทุน ซึ่งไทยยังไม่มีความร่วมมือส่วนนี้

     "ปัจจุบันไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ แต่ปัจจุบันการส่งเสริมแผ่วลง อาจเพราะมีข้อจำกัดเรื่องระเบียบต่างๆ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจะเร่งหารือเพื่อช่วยเหลือนักลงทุนต่อไป" นายสมชายกล่าว

    สำหรับ ปีที่ผ่านมาเวียดนามเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลอันดับสามของโลก รองจากประเทศจีนและประเทศอินเดีย มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 240,000 ล้านบาท ซึ่งซีพีเวียดนาม ถือเป็นหนึ่งในบริษัทสัญชาติไทยที่มีโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำในเวียดนาม จำนวน 2 โรงงาน

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!