หมวดหมู่: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ

1aaa1kbank


กสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจปี 2562 คาดจีดีพีโต 4%

         ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้จัดงานเสวนาเรื่อง 'จับอุณหภูมิเศรษฐกิจปี 62...หมูจริงหรือไม่?' เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปีนี้ว่าคงขยายตัวดีขึ้นมาที่กว่าร้อยละ 4 จากร้อยละ 3.3 ในไตรมาส 3 หลังภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในเดือนธันวาคม ผนวกกับการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวขึ้น การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังรักษาระดับการขยายตัวไว้ได้ ส่วนประมาณการจีดีพีสำหรับทั้งปี 2561 นั้น มีการปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 4.6 มาที่ร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นไปตามภาพการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ผ่อนแรงส่งลง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ของปี

       ดร.ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า สำหรับในปีหมู หรือปี 2562 นั้น ทีมศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า คงไม่หมูเท่าใดนัก เพราะในฝั่งภาคต่างประเทศ “สงครามการค้าจะมีผลกระทบกับภาคส่งออกของไทยมากขึ้นกว่าที่เห็นในปีนี้ โดยการเจรจาระหว่างสหรัฐฯและจีนคงจะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งทำให้ประเด็นนี้ จะรบกวนบรรยากาศการค้าโลกตลอดทั้งปี และคาดว่าจะมีผลกระทบต่อมูลค่าการค้าของไทยราว 3.1 พันล้านดอลลาร์ฯ” นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนในประเด็น Brexit สถานการณ์การคลังของอิตาลี และความผันผวนของค่าเงินในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างเช่น ตุรกี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ซึ่งล้วนแล้วแต่จะทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลกต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะที่หลายธนาคารกลางในกลุ่มประเทศดังกล่าว มีกระสุนที่จำกัดมากขึ้นหลังขึ้นดอกเบี้ยไปมากแล้ว

       นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า “ประเด็นสงครามการค้าโลกดังกล่าว จะเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่กระทบตัวเลขส่งออกไทยในปีหน้า ซึ่งเมื่อผนวกกับผลของฐาน จะทำให้เราเห็นตัวเลขการส่งออกที่ราวร้อยละ 4.5 เทียบกับร้อยละ 7.7 ในปี 2561” ขณะที่ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีอัตราการเติบโตที่ประมาณร้อยละ 4.0 ซึ่งต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนมาช่วยเสริม เพื่อให้สามารถชดเชยโมเมนตัมของภาคต่างประเทศที่ผ่อนแรงลงได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่ หากเป็นไปอย่างราบรื่นจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการใช้จ่ายและลงทุนของประเทศ รวมถึงความต่อเนื่องของการผลักดันงบประมาณปี 2563 ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายและลงทุนของภาครัฐยังเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญไปจนถึงครึ่งปีหลัง

      นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่า นอกจากความต่อเนื่องของการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐแล้ว ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยติดตามที่สำคัญ “กนง.มีโอกาสมากขึ้นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายของปีนี้ เช่นเดียวกับเฟดที่ประชุมวันเดียวกัน หลังมีการส่งสัญญาณจาก ธปท.อย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้ ขณะที่ในปี 2562 กนง.ยังมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก แต่น่าจะเป็นในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อผ่านพ้นช่วงการเลือกตั้ง” อย่างไรก็ตาม การปรับดอกเบี้ยแบงก์ในช่วงครึ่งปีแรก คงเน้นไปที่อัตราเงินฝากประจำพิเศษ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บ้านและกู้รถที่มีระยะค่อนข้างยาว ไม่ใช่เป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป เพราะสภาพคล่องยังมีอยู่มาก ขณะที่ แรงส่งสินเชื่อจะชัดเจนในครึ่งปีหลังมากกว่า แต่ด้วยเศรษฐกิจที่มีแรงส่งลดลง คงทำให้เห็นสินเชื่อปี 2562 ขยายตัวประมาณร้อยละ 5.0 ชะลอลงจากร้อยละ 6.0 ในปีนี้ ด้านเอ็นพีแอลของระบบธนาคารไทยและต่างชาติ มีโอกาสแตะระดับสูงสุดครั้งใหม่ในช่วงระหว่างปี 2562 ก่อนที่จะมาแตะระดับราวร้อยละ 2.98 ณ สิ้นปี 2562 จากร้อยละ 2.91 ณ สิ้นปี 2561 เพราะเอ็นพีแอลมักปรับตัวตามเศรษฐกิจราว 6 เดือน โดยสินเชื่อเอสเอ็มอีและบ้าน ยังเป็นกลุ่มที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ

        นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มธุรกิจในปีหน้า “กลุ่มค้าปลีกออนไลน์ โรงพยาบาลเอกชน และก่อสร้างภาครัฐ เป็นกลุ่มธุรกิจที่ยังมีอัตราการขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยแม้การเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซอาจมีผลต่อมาร์จิ้นฝั่งผู้ขายเมื่อมีความลงตัวของระบบที่เกี่ยวข้อง แต่โดยรวมธุรกรรมออนไลน์น่าจะยังเติบโตสูงตามเทรนด์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค” ขณะที่ ธุรกิจที่คงเห็นการชะลอตัวในปีหน้า ได้แก่ เกษตร รถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2562 จะได้รับผลกระทบจากทั้งมาตรการคุมสินเชื่ออสังหาฯ ของ ธปท.ที่เร่งกิจกรรมการโอนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ถึงไตรมาสแรกของปี 2562 และการปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงทำให้คาดว่ายอดโอนอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จะหดตัวร้อยละ 7.6 ถึงร้อยละ 3.6 จากที่มองว่าจะเติบโตร้อยละ 14.1 ในปี 2561 เพียงแต่ยอดค้างขายคงไม่เพิ่มขึ้นมาก เพราะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะระมัดระวังการเปิดตัวโครงการใหม่มากขึ้น

 

KResearch forecasts 2019 Thai GDP to grow 4%

     On December 7, 2018, KASIKORN RESEARCH CENTER (KResearch) held a seminar titled “Thai Economy to Face Challenges in the Year of the Pig”, suggesting that Thailand’s economy will likely perform better in the last quarter of 2018, with growth at higher than 4 percent compared to the 3.3-percent pace reported in the previous quarter, due to new stimulus measures of the government launched in December and the recovering tourism sector, plus continual growth in private consumption and investment. As for the entire year, economic growth is expected at 4.3 percent, against the prior estimate of 4.6 percent in line with slower exports and tourism in 3Q18.

          Next year, KResearch does not expect it to be very easy, especially on the international front. Dr. Siwat Luangsomboon, KResearch Assistant Managing Director, said impacts of the trade war will be more serious than those seen this year. The US and China may not come up with an agreement within the expected timeline, and this will disturb the international trade atmosphere over the whole year. For Thailand, this situation is expected to affect our trade value by USD3.1 billion. In addition to the trade war issue, uncertainties remain on the matters of Brexit, Italy’s fiscal situation and currency fluctuations in newly emerging markets, such as Turkey, Indonesia, the Philippines and India, all of which causing consistent volatilities in global financial markets. Meanwhile, many central banks of those countries are left with limited tools now that their interest rates have already been considerably raised.

           “Global trade war will be a key variable for Thai exports next year. Included the base effect, our exports are projected to grow 4.5 percent versus 7.7 percent in 2018”, according to Ms. Nattaporn   Triratanasirikul, KResearch Assistant Managing Director. Meanwhile, the Thai economy may enjoy 4.0 percent growth, with the help of investment to compensate for the faltering momentum of external sector. Regarding the change in the Thai government, if everything goes smoothly, the country’s spending and investment atmosphere may be improved. Moreover, the continuity of the budget disbursement for FY2020 will help the government’s spending and investment to be the main economic growth engine throughout the second half of next year.

           Aside from the continuity of public spending and investment, the rising interest rate trend is another important factor that should be monitored closely. Ms. Kangana Chockpisansin, Research Head, expects that “the Monetary Policy Committee (MPC) will likely raise its policy rate during its final meeting of 2018 slated for December 19 as will the Federal Open Market Committee (FOMC) on the same day after the Bank of Thailand has steadily sent a series of signals. In 2019, there is likelihood that the MPC will hike its policy rate further preferably during 2H19 following the general election.” However, interest rate hikes will likely be seen in special fixed deposits, plus long-term home and car loans during 1H19, while interest rates overall may remain unchanged, given relatively high liquidity in the banking system. Loans may substantially grow during 2H19, but as the Thai economic performance is expected to slow down, loans may expand only about 5.0 percent in 2019, declining from the 6.0 percent growth projected for 2018. Non-performance loans (NPLs) at Thai and international banks may hit a record high around the middle of 2019 before standing at 2.98 percent by the end of 2019, down from the 2.91 percent growth projected at the end of 2018. This is because NPLs typically move with the economic cycle for every six months. Special attention must be paid to SME and home loans.          

Regarding business outlook next year, Ms. Kevalin Wangpichayasuk, KResearch Assistant Managing Director, said, “Online retail, private hospital and public investment are sectors that are likely to enjoy good growth. Although e-commerce tax may affect the margins of the sellers after related systems are in place, online transactions are poised to remarkably increase in tune with the changing consumer behavior”. Business sectors expected to see growth deceleration include agriculture, automobile and real estate as the property market next year is likely to be impacted by an upward revision of interest rate and the Bank of Thailand’s housing loan measures which result in speeding up the transfers of property ownerships during the last quarter of 2018 to the first quarter of 2019. Hence, the ownership transfers in Bangkok Metropolitan Region may contract between 7.6 and 3.6 percent when compared to the estimated increase of 14.1 percent in 2018. Nonetheless, the number of accumulated unsold units is unlikely to significantly increase because the property developers have adopted more cautious approach in launching new projects.

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!