หมวดหมู่: การตลาด

1aaaA1ABaIoT AI


จับตา IoT-AI เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ HILL ASEAN แนะ 3 แนวทางเจาะตลาดอาเซียน

    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟนได้เปลี่ยนชีวิตคนทั่วโลกไปโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบอาเซียนที่มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากเป็นอันดับต้นๆของโลก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง IoT (Internet of Things) และ AI (Artificial Intelligence) ได้กลายมาเป็นที่จับตามองของหลากหลายวงการในฐานะคลื่นลูกใหม่ต่อจากสมาร์ทโฟน ที่จะทำให้ชีวิตของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

        เมื่อไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน แน่นอนว่าแนวทางการตลาดย่อมต้องปรับตัวตาม ล่าสุด ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ HILL ASEAN (Hakuhodo Institute of Life and Living Asean) คลังสมองด้านวิชาการในเครือบริษัทฮาคูโฮโด อิงค์ บริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น ได้ชี้แจงว่า มีความจำเป็นที่ผู้ประกอบและแบรนด์ต่างๆ ต้องเตรียมรับมือกับเทรนด์แห่งอนาคตนี้ โดยเน้นการทำตลาดแบบเรียลไทม์ให้มากยิ่งขั้น บนพื้นฐานของข้อมูลผู้บริโภคที่จะถูกรวบรวมเอาไว้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในทุกมิติ ไม่จำกัดแค่พฤติกรรมการจับจ่ายซื้อของ แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลสุขภาพ ความสนใจ ความชอบส่วนตัว และประวัติการสั่งซื้อสินค้า ฯลฯ

     งานวิจัยฉบับล่าสุดของฮิลล์ อาเซียน ที่มีชื่อว่า 'THINK FUTURE-FORWARD: How Asean Lives Evolve as Technology Gets Smarter' (TECH ล้ำทำชีวิตเปลี่ยน) ซึ่งเป็นผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างใน 6 ชาติอาเซียน คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ได้ระบุว่า โลกยุคต่อจากสมาร์ทโฟนจะเป็นโลกที่มีทั้ง 'Internet of Things'และ 'Intelligence of Things' กล่าวคือเป็นยุคที่สิ่งของเครื่องใช้สามารถคิดวิเคราะห์และปฏิบัติการได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องผ่านสมาร์ทโฟนอีกต่อไป สืบเนื่องมาจากความก้าวล้ำของเทคโนโลยีและ AI

    ทั้งนี้ คาดการณ์กันว่า ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า โลกนี้จะมีจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันด้วยเทคโนโลยี IoT เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าของสมาร์ทโฟน ทำให้บริษัทไอทีต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและคิดค้นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องตัวอย่างชัดเจนคือยักษ์ใหญ่จากสองฝั่งของโลกคือ สหรัฐอเมริกาที่มี Google, Apple, Facebook. Amazon, Microsoft หรือที่เรียกกันว่ากลุ่ม GAFAM กับจีนที่มี Baidu, Alibaba, Tencent, Xiaomi หรือกลุ่ม BATX ซึ่งพัฒนาระบบปฏิบัติการผู้ช่วยอัจฉริยะ ให้มีความฉลาดขึ้นเรื่อยๆ และโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปหลังยุคสมาร์ทโฟน

       โกโร โฮคาริ กรรมการผู้จัดการ ฮิลล์ อาเซียน ซึ่งนำทีมคณะนักวิจัยมาเปิดผลศึกษาชิ้นนี้ในงานสัมมนา ASEAN Sei-Katsu-Sha Forum 2019 ได้อธิบายว่า การแพร่หลายของเทคโนโลยี IoT จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 ประการคือ

      1.   การมาถึงของยุคไร้จอ 'Beyond the Screen' โลกดิจิทัลจะก้าวข้ามรูปแบบของหน้าจอและแผ่ขยายไปอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รถยนต์ระบบเมือง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมต่างๆ

      2.   การเกิดขึ้นของฐานข้อมูล 'Me Data'เมื่อ IoT แพร่พลาย ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา (Me Data) เช่น พฤติกรรมในอดีต ประวัติการซื้อสินค้าและบริการ ความชื่นชอบส่วนตัว ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ จะถูกเก็บสะสมอยู่ในอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงถึงกัน โดยมีศูนย์กลางการควบคุม 1 ไอดีเท่านั้น

      3.   การให้คำแนะนำที่ตรงใจ (Predictive Recommendation) ยิ่ง Me Data เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานได้มากขึ้นเท่าใด ระบบ AI อัจฉริยะก็จะยิ่งสามารถวิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคได้แม่นยำมากขึ้นเท่านั้น ถึงขั้นที่สามารถให้คำแนะนำหรือนำเสนอสินค้าและบริการที่เราต้องการได้ทันที ผ่านอุปกรณ์ IoT ต่างๆ

เทคโนโลยี Iot-AI เปลี่ยนชีวิตผู้บริโภคอาเซียน

        ขณะเดียวกัน รูปแบบสื่อในสังคมจะแปรสภาพตามไปด้วยจากที่เคยเป็น Mass Media ก่อนมาถึงยุคของ Interactive Media และ Personalized Media ในปัจจุบัน จะทำให้เกิดสื่อรูปแบบใหม่ที่คณะนักวิจัยของฮิลล์ อาเซียนตั้งชื่อให้ว่า'Assistive Media'ซึ่งจะทำการวิเคราะห์ข้อมูล Me Data แล้วจึงเสนอแนะสิ่งที่ผู้บริโภคน่าจะชอบหรือต้องการในช่วงเวลานั้นๆ ทั้งในรูปแบบของข้อมูล หรือ Solution สินค้าหรือบริการต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องลงมือค้นหาข้อมูลด้วยตัวเองอีกต่อไป (Optimal solutions at the optimal time)

      อีกด้านหนึ่ง เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคย่อมไม่เหมือนเดิมเช่นกัน งานวิจัยชิ้นนี้คาดการณ์ต่อว่า ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ผู้บริโภคในอาเซียนจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป 2 รูปแบบ ประการแรกเรียกว่า 'Bye-Bye Boring Routines' กล่าวคือ เทคโนโลยี Iot และ AI จะเข้ามาช่วยให้กิจวัตรซ้ำๆ ตามปกติในแต่ละวันของผู้บริโภคลดลง ทั้งยังทำได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และสนุกยิ่งขึ้น เช่น การซื้อของใช้ประจำวัน ซึ่งปกติแล้วผู้บริโภคอาจไม่มีความชอบใดเป็นพิเศษ เทคโนโลยีเหล่านี้ก็จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือแนะนำ ทำให้ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกด้วยตัวเองอีกต่อไป

      ส่วนพฤติกรรมแบบที่สอง เรียกว่า 'Match-Me Journey'แทนที่จะต้องสิ้นเปลืองเวลาไปกับการหาข้อมูลเปรียบเทียบ ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่ดีที่สุด แต่ผู้บริโภคจะได้รับคำแนะนำจาก AI เกี่ยวกับสิ่งของและบริการน่าซื้อ ซึ่งถูกคัดกรองมาแล้วว่าตรงกับความชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภค แล้วจึงค่อยทำการตัดสินใจซื้อในที่สุด

แบรนด์และนักการตลาดควรปรับตัวอย่างไร

        จากแนวโน้มที่กล่าวมานี้ HILL ASEAN แนะนำให้ผู้ประกอบการธุรกิจและแบรนด์เตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงด้วยการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ

     Purpose Branding: กำหนดนิยามคุณค่าของแบรนด์ ชัดเจนเหมาะกับสถานการณ์

      เมื่อมี Assistive Media เป็นตัวช่วยนำเสนอแบรนด์ 'อันดับ 1' ในแง่ต่างๆ เช่น แบรนด์อันดับ 1 ในใจ, แบรนด์ที่ถูกค้นหาเป็นอันดับ 1, แบรนด์ที่มียอดขายเป็นอันดับ 1 หรือแบรนด์ที่มีราคาถูกที่สุดฯลฯ จะทำให้การค้นหาข้อมูลของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์อื่นๆ น้อยลง สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือ ให้คำนิยามที่ชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ของตนนั้นจะเป็นประโยชน์และจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในเวลาหรือสถานการณ์ไหน เพื่อที่จะเป็นตัวเลือกอันดับ 1 ที่ผู้บริโภคต้องการ

     Life Solutions: พัฒนา Solution ครบวงจร ตอบโจทย์ทุกปัญหาผู้บริโภค

    เพื่อที่จะเป็นสินค้าที่ถูกเลือกจากผู้บริโภคและ Assistive Media แบรนด์ต่างๆ ต้องทำมากกว่าการผลิตและขายสินค้า นั่นคือการนำเสนอ 'life solutions' หรือสินค้าและบริการที่พัฒนาให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ อาจจะต้องร่วมมือกันสร้าง ecosystem หรือระบบนิเวศ online ขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอโซลูชันให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างครบวงจร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจต้องพิจารณาด้วยว่าโซลูชันที่พัฒนาขึ้นมานั้นจะช่วยแก้ปัญหาตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง

     Real-Time Marketing: นำเสนอคอนเทนต์โดนใจ ฉับไวตรงสถานการณ์

        แนวทางการทำการตลาดแบบ Real-time marketing ที่เน้นการสร้างคอนเทนต์การสื่อสาร ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความสนใจของผู้บริโภคแต่ละคนได้อย่างทันท่วงที จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาจต้องใช้ทั้งข้อมูลที่แบรนด์มีอยู่แล้วร่วมกับข้อมูลจาก Me Data โดยการทำตลาดแบบนี้จะช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่าง   แบรนด์กับผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การใช้ประโยชน์จาก Me Data และการสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาเป็นของแบรนด์เอง จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรทำ

       ดาวน์โหลดข้อมูลและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.hillasean.com/forum_2019/en/

      Macintosh HD:Users:Kun:Desktop:やること:201901 HILL ASEAN BKK:リリース:En:01.jpg

   เกี่ยวกับศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN หรือ HILL ASEAN)

ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือฮิลล์ อาเซียน (HILL ASEAN) ก่อตั้งขึ้นในปี 2557 เพื่อเป็นคลังสมองทางวิชาการภายในองค์กร ที่มุ่งศึกษาวิจัยผู้คนในชาติอาเซียน ตามแนวคิด sei-katsu-sha ทั้งนี้ HILL ASEAN ได้เริ่มเข้ามาดำเนินงานในประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำงานของกลุ่มลูกค้า โดยนำเอาองค์ความรู้ด้านการวิจัย sei-katsu-sha มาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์กลยุทธ์การตลาดและวิธีเข้าถึงผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน

ชื่อทางการค้า: Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN

กรรมการผู้จัดการ: นายโกโร โฮคาริ

ที่ตั้ง: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

การวิจัย และกิจกรรมรูปแบบอื่นๆ :

-     การสำรวจความคิดเห็นแบบกำหนดจุดตายตัว ASEAN Fixed Point Survey Survey เพื่อศึกษาความเป็นอยู่และความคิดรอบด้านของ sei-katsu-sha ในประเทศอาเซียน (ทุก 2 ปี)

-   งานวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลจากมุมมองผู้บริโภคท้องถิ่นในประเทศอาเซียน

-    งานสัมมนาในประเทศอาเซียน

   เกี่ยวกับบริษัท ฮาคูโฮโด อิงค์

       บริษัท ฮาคูโฮโด อิงค์ ก่อตั้งในปี 2438 เป็นเอเจนซีโฆษณาและประชาสัมพันธ์ครบวงจรที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นบริษัทหลักของกลุ่มบริษัท Hakuhodo DY Group เอเจนซีโฆษณายักษ์ใหญ่อันดับ 6 ของโลก จากการจัดอันดับของนิตยสาร Advertising Age ในปี 2561

      ฮาคูโฮโดมีสำนักงานอยู่ใน 20 ประเทศ และมีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10,000 คนทำงานอยู่ในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ปัจจุบัน ฮาคูโฮโดกำลังเร่งเครื่องสร้างรากฐานที่เข้มแข็งในประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย หลังเตรียมการเร่งเครื่องขยายธุรกิจออกไปทั่วทั้งภูมิภาค

      การเข้าถึงวิถีความคิดของ sei-katsu-sha เป็นรากฐานสำคัญที่ฮาคูโฮโดใช้ในการคิดวิเคราะห์ วางแผน และสร้าง   แบรนด์มาโดยตลอด โดยปรัชญาของ sei-katsu-sha เชื่อว่า ผู้บริโภคเป็นปัจเจกบุคคลที่มีมิติมากกว่าการจับจ่ายใช้สอย พวกเขาเป็นมนุษย์ที่มีหัวใจความรู้สึกและมีไลฟ์สไตล์เฉพาะเป็นของตนเอง โดยฮาคูโฮโดได้ริเริ่มคำจำกัดความนี้และยึดถือแนวคิดดังกล่าวเป็นหลักในการดำเนินงานมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 อันเป็นการเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะศึกษามุมมองความคิดของผู้บริโภคอย่างรอบด้าน เพื่อเข้าถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนอย่างแท้จริงแบบ 360 องศา

      ด้วยความโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ ฮาคูโฮโดได้รับรางวัลการันตีฝีมือมากมาย โดยเคยคว้ารางวัล Grand Prix ถึงสองครั้งจากเทศกาลครีเอทีฟที่เมืองคานส์ หรือเวที Cannes Lions International Festival of Creativity และยังเป็นเอเจนซีเพียงหนึ่งเดียวที่มีสำนักงานใหญ่ในเอเชียซึ่งได้รับรางวัล Special Lion เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีเทศกาล Cannes Lion ในปี 2546

     สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.hakuhodo-global.com

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!