หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
Asia Plus Group Holding
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน    
วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562
การซื้อขายวันสุดท้ายก่อนวันหยุดยาว น่าจะเห็นมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง ส่วนปัจจัยแวดล้อมมีน้ำหนักค่อนไปทางบวก และน่าจะเห็นแรงซื้อเก็งกำไรในหุ้นกลุ่ม TV Digital ซึ่งได้ประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ส่วนหุ้นในกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ น่าจะมี Upside ที่จำกัด ด้านพัฒนาการของเหตุการณ์ทางการเมืองที่ กกต. ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องการคำนวน Party List มองว่าเป็นผลดีในระยะยาว คาด SET Index น่าจะเคลื่อนไหวที่บริเวณ 1660 +/-10 จุด หุ้น Top Pick ยังคงเป็น STEC (FV@B 29.25) และ KBANK (FV@B 247)
 
              SET Index    1,659.09
        เปลี่ยนแปลง (จุด)    -3.04
        มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)    40,713.07
            
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ … ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนตลอดวัน
วานนี้ SET Index แกว่งผันผวนตลอดวันอยู่ในกรอบ 20 จุด และปิดที่ระดับ 1659.09 จุด ลดลง 3.04 จุด (-0.18%) มูลค่าการซื้อขาย 4.07 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มก่อสร้างอย่างเช่น SCC(-2.58%) SCCC(-0.46%) TPIPL(-0.99%)  กลุ่มพลังงานเช่น IRPC(-2.54%) PTTEP(-1.13%) RATCH(-2.44%)  และกลุ่มธ.พ.เช่น BBL(-0.48%) CIMBT(-1.33%) KBANK(-1.30%) แต่ได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่อย่าง BJC(+1.47%) GPSC(+3.36%) TASCO(+4.40%) CBG(+2.35%)
คาด SET Index วันนี้เคลื่อนไหวในบริเวณ 1660 +/-10 จุด โดยที่ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานส่วนใหญ่มีน้ำหนักไปทางบวก ที่เด่นสุดน่าจะเป็นกรณีที่ กกต. ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่อง สูตรการคำนวน Party List ซึ่งฝ่ายวิจัยมองว่าน่าจะเป็นผลดีต่อการเมืองในระยะยาว และลดความเสี่ยงในการโต้แย้งผลการเลือกตั้ง ส่วนประเด็นรายอุตสาหกรรม น้ำหนักอยู่ทึ่กลุ่ม TV Digital ซึ่งได้รับประโยชน์จาก ม.44 ที่ออกมาให้ความช่วยเหลือโดยการลดภาระค่าใบอนุญาต รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ พร้อมเปิดทางให้คืนใบอนุญาติได้ โดยหุ้นที่มีโอกาสถูกเก็งกำไรขึ้นไปต่อได้แก่ BEC, MCOT, RS รวมถึง WORK แต่ระยะยาวยังต้องพิจารณาแผนธุรกิจของแต่ละราย สำหรับหุ้นในกลุ่มผู้ให้บริการโทรศพท์เคลื่อนที่ ประเมินว่า Upside มีจำกัด อาจไม่เห็นแรงซื้อเก็งกำไรเข้ามามากนักในระยะสั้น
สหรัฐเดินหน้ากดดันการค้ายุโรปต่อ กระทบไทยจำกัด
แม้สงครามการค้าสหรัฐกับจีนจะผ่อนคลายลง หลังจากทั้ง 2 ฝั่งประนีประนอมต่อกัน แต่สหรัฐยังเดินหน้ากีดกันการค้ากับทั่วโลกต่อล่าสุด คือ ยุโรป หลังจากกลางปีที่แล้วสหรัฐขึ้นภาษี Safe Guard  สินค้าเหล็กและอลูมิเนียมกับยุโรป (และทั่วโลก) ส่งผลให้ยุโรปได้ตอบโต้โดยขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐวงเงินราว 3.2 พันล้านเหรียญ อัตราภาษี 10-50% 
และ ล่าสุดสหรัฐเตรียมจะขึ้นภาษีนำเข้าต่อยุโรปเพิ่มอีก 1.1 หมื่นล้านเหรียญฯ โดยมุ่งไปที่สินค้าในกลุ่มอากาศยานและชิ้นส่วน เป็นหลัก และสินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิด อาทิ ผลิตภัณฑ์นม, ชีส ,ไวน์ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น เนื่องจากสหรัฐกล่าวหาว่ายุโรปดำเนินมาตรการอุดหนุน Airbus (ผู้ผลิตอากาศยานสัญชาติฝรั่งเศส) ส่งผลกระทบต่อสหรัฐ (บริษัท Boing ผู้ผลิตอากาศยานสัญชาติสหรัฐ) คาดว่าการขึ้นภาษีดังกล่าวน่าจะกระทบต่อการค้าและเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศที่เป็น Supply Chain ให้กับยุโรป แต่เชื่อว่าจะกระทบไม่มาก  ขณะที่ไทยผลกระทบคาดจำกัด แม้ไทยมีการค้าขายยุโรปราว 9.5%ของประทศคู่ค้าทั้งหมดทั่วโลก โดย ไทยมีการส่งออกอากาศยานและชิ้นส่วนไปยุโรปเพียงราว 0.92% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด  (หลักๆไทยส่งออกสินค้าไปยุโรป เครื่องมากสุดคือ คอมพิวเตอร์ราว 12.6% รองลงมาคือยานยนต์ 7.2%) 
 
 
ส่งเรื่องสูตรคำนวน Party List ให้ศาลฯ พิจารณา ลดความเสี่ยงระยะยาว
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรรจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (Part List) ที่แต่ละพรรคจะพึงมีได้ตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญฯ ประกอบ มาตรา 128 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ  ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การดำเนินการดังกล่าวของ กกต. เป็นผลมาจากเกิดความเห็น และการตีความกฎหมายที่แตกต่างกัน ในกลุ่มของผู้ที่มีส่วนได้เสียในการคำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ  ซึ่งจากนี้ไปต้องติดตามการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ เริ่มจากศาลฯ จะรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่ และกรณีที่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้วจะใช้เวลาในการพิจารณาเท่าใด โดยหากมีผลการวินิจฉัยออกมาไม่ทันภายในวันที่ 9 พ.ค. 2562 ก็อาจส่งผลทำให้ กกต. ไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้ครบ 95% ตามกำหนดการเดิมที่ตั้งไว้ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง
 
ในความเห็นของฝ่ายวิจัย เชื่อว่าการตัดสินใจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เป็นทางออกเพื่อที่จะลดความเสี่ยงทางการเมือง หลังจากที่มีการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไปแล้ว ส่วนผลจากการคำนวน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ หากยึดตามคะแนนเบื้องต้นที่แต่ละพรรคได้ตามที่ กกต. ได้เปิดเผยออกมา อาจทำให้ขั้วทางการเมืองที่คาดว่าจะรวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาลซึ่งมีคะแนนเสียงห่างกันไม่มาก เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากมองในแง่ภาพรวมของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้น ก็น่าจะมีคะแนนเสียง 250 – 260 เสียง (กรณีไม่มีปรากฎการณ์ ที่ ส.ส. มีการย้ายพรรค หรือโหวตสวนมติพรรค) โดยภาพรวมของเรื่องนี้ ฝ่ายวิจัยยังตีความในเชิงบวกต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
 
คสช.ออก ม.44 ขยายระเวลาชำระหนี้ 
วานนี้ คสช. ได้ออก ม.44 ขยายเวลาชำระหนี้คลื่น 900 Mhz เป็น 10 ปี โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมต้องเข้าประมูลคลื่น 700 ซึ่งในส่วนของทีวีดิจิทัลมีมาตราการเยียวยา คือ 1.จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 2 งวดสุดท้าย 2.ค่าใช้บริการโครงข่ายตลอดระยะเวลาการได้รับใบอนุญาตที่เหลืออยู่ 3. เปิดทางคืนใบอนุญาต และได้รับค่าชดเชย
 ฝ่ายวิจัยมองว่าการออก ม.44 ดังกล่าว เป็บบวกแก่อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะการเปิดทางคืนใบอนุญาต จะทำให้ช่องมีเรตติ้งต่ำและขาดทุนสะสม อาจพิจารณาคืนใบอนุญาต แต่คาดว่าไม่ส่งผลต่อเม็ดเงินภาพรวมเนื่องจากช่องที่มีแนวโน้มที่จะคืนใบอนุญาตมีเม็ดเงินโฆษณาเข้าไปมากอยู่แล้ว สำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ยังดำเนินธุรกิจต่อ จะมีผลประกอบการและกระแสเงินสดที่ดีขึ้นจากการช่วยเหลือค่าใบอนุญาตส่วนที่เหลือ ค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาตที่จะลดลง และค่าเช่าโครงข่าย ซึ่งปัจจุบันช่องทีวีแต่ละช่องต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่าย เดือนละ 10.8 ล้านบาท สำหรับช่องความคมชัดสูง และ เดือนละ 3.5-3.6 ล้านบาท สำหรับช่องความคมชัดปกติ ผู้ประกอบการที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาต 3 ใบ และมีช่องความคมชัดสูง อย่าง BEC อีกทั้งยังมีโอกาสพิจารณาคืนใบอนุญาตในช่อง  SD และ Family อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยยังชอบ RS (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) คาดผลประกอบการ 1Q62 ออกมาดี และได้ประโยชน์จากมาตราการดังกล่าว
ที่มา : ประเมินโดย ASPS
 
กำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2562 เติบโต 9% ใกล้เคียงเพื่อนบ้าน  
กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนปี 2562 ASPS คาดที่1.06 ล้านล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่ 106.58 บาท เติบโต 9%yoy โดยมีการปรับลดลงจากคาดการณ์เดิมราว 5% หลักๆ ปรับปรุง 2 ส่วนคือ
•รายการสำรองผลประโยชน์พนักงานตาม พ.ร.บ.แรงงานฉบับแก้ไข หลังจากผ่านราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีผลบังคับใช้ 5 พ.ค. ซึ่งให้เพิ่มเงินชดเชยแก่พนักงานที่อายุงานเกิน  20 ปี กรณีเกษียณ หรือเลิกจ้าง จากเดิม 300 วัน เป็น 400 วัน ซึ่งทำให้บริษัทจดทะเบียนต้องบันทึกค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพิ่มขึ้นราว  2.4 หมื่นล้านบาท (ปี 2561 บริษัทในตลาดตั้งสำรองไปแล้วราว  4.9 พันล้านบาท ) 
ส่วนเพิ่มตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานปี 2561-2562 
ที่มา : ASPS รวบรวม จากNote ของ 230 บริษัทที่จดทะเบียน คิดราว 90% ของMarket Cap
 
การปรับสมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2562 อยู่ที่ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ (เดิม 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ถึงแม้จะมีการปรับลดกำไรตลาดลง  แต่อัตราการเติบโตของกำไร (EPS Growth) ปี 2562ของตลาดหุ้นไทยยังเติบโต 9%yoy ถือเป็นอัตราที่สูงใกล้เคียงกับหลายประเทศในภูมิภาค เช่น ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ , ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย , ตลาดหุ้นจีน ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดียที่เติบโตสูงถึง 28.3%yoy และตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น มีการเติบโตที่ด้อยกว่าตลาดหุ้นไทย  และเมื่อพิจารณา Expected P/E ปี 2562 ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ราว 15.5 เท่า นับว่าเป็นระดับที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่ม TIP รวมทั้งยังคงถูกกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐ   (ดังรูปด้านล่าง) โดยรวมเป็นปัจจัยหนุนให้ Flow ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย
EPS Growth และ Expected PERปี 2562  ตลาดหุ้นกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว
ที่มา : Bloomberg , ASPS 
 
การเมืองชัดเจนขึ้น…หนุน Fund Flowเข้าไทยต่อ ชอบ KBANK STEC และเก็งกำไร RS
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 11 ด้วยมูลค่ารวม 200 ล้านเหรียญ และยังคงเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไต้หวันเพียงแห่งเดียวถูกขายสุทธิ 190 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 327 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 10), ตามด้วยอินโดนีเซีย 39 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7), ฟิลิปปินส์ 22 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) รวมถึงไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อย 2 ล้านเหรียญ หรือ 77 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ต่างกับสถาบันฯที่สลับขายสุทธิ 810 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
ทิศทางการเมืองไทยน่าจะชัดเจนขึ้น หลังกกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หนุน Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง (3 วัน ซื้อสุทธิแล้ว 5 พันล้านบาท) ส่งผลดีต่อหุ้นที่มีขนาดใหญ่สภาพคล่องสูง ยังชื่นชอบ KBANK(FV@B247), STEC(This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) หุ้นทั้ง 2 บริษัทอยู่ในดัชนี SET100 อีกทั้งยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดียามที่ Fund Flow ไหลเข้า โดยมีค่า Correlation กับแรงซื้อของต่าชาติสูงถึง 0.98 และ 0.93 ตามลำดับ ส่วน RS(FV@B22.1) อาจมีแรงซื้อเก็งกำไรเหตุเพราะ ได้อานิสงส์จาก ม.44 ช่วยธุรกิจทีวีดิจิทัล
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!