หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
Asia Plus Group Holding
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
แรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนเข้ามาสู่ตลาดหุ้น มีน้ำหนักมากขึ้นหลังการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตามในระยะสั้นความกังวลจากปัจจัยการเมืองในส่วนของเสถียรภาพรัฐบาลยังมีอิทธิพลอยู่ ทำให้ทิศทางการเคลื่อนไหวของ SET Index ยังผันผวนภายใต้ Upside จำกัด วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุน ส่วนหุ้น Top Picks เลือก PLANB (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) และ MCS (FV@B9) ที่ผลประกอบการออกมาดีกว่าคาดเปิด Upside ประมาณการ
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …แกว่งผันผวนตลอดวัน
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยผันผวนตลอดวันและปิดตัวในแดนลบ จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1665.12 จุด ลดลง 4.32 จุด (-0.26%) มูลค่าการซื้อขาย 6.26 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มพลังงานเช่น PTT(-1.67%) PTTEP(-1.95%) TOP(-1.75%) กลุ่มการเงินเช่น MTC(-8.20%) SAWAD(-5.22%) AEONTS(-1.89%) กลุ่มธ.พ.เช่น BBL(-1.46%) KBANK(-1.19%)  KTB(-2.73%) KKP(-0.68%) แต่ได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่เช่น AOT(+2.16%) CPALL(+1.74%) และ GPSC(+5.54%) เป็นต้น 
 
การเริ่มเห็นตลาดหุ้นสำคัญในต่างประเทศดีดตัวกลับ น่าจะเป็นการบ่งชี้ได้ระดับหนึ่งว่า ราคาหุ้นปัจจุบันได้ดูดซับแรงกดดันจากประเด็นสงครามการค้าไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ สำหรับตลาดหุ้นไทยก็เชื่อว่าอยู่ในภาวะดังกล่าวเช่นกัน เพียงแต่ยังถูกปกคลุมด้วยความเสี่ยงจากปัจจัยทางด้านการเมืองมากขึ้น โดยหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลในเรื่องของเสถียรภาพรัฐบาล รวมไปถึงความล่าช้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพิ่มเติมสำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2563 ทำให้ SET Index ยังเคลื่อนไหวในลักษณะผันผวน แต่อย่างไรก็ตามหากมองทิศทางตลาดหุ้นไทยในระยะกลาง –  ยาว ฝ่ายวิจัยเห็นว่ายังมีโอกาสที่จะได้รับแรงหนุนจากการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุน จากตลาดตราสารหนี้ มีสู่ตลาดหุ้นมากขึ้น โดยแรงผลักดันจะมาจาก 2 ปัจจัยหลักได้แก่การที่ Bond Yield ปรับลดลงมาสู่ระดับที่ต่ำมาก จนทำให้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้นสูงกว่าตราสารหนี้ มาก ทำให้เกิดแรงดึงดูดให้เงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นมากขึ้น อีกประการหนึ่งเป็นเรื่องของการที่จะมีการจัดเก็บภาษีจากผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนที่ถือครองโดยกองทุนรวม ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนในตราสารหนี้ปรับลดลงไปอีก ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าว จึงน่าจะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนระยะยาวที่จะเข้าสะสมหุ้นพื้นฐานดีไว้ในพอร์ต สำหรับวันนี้เลือก MCS และ PLANB เป็น Top pick ส่วนพอร์ตการลงทุนไม่มีการปรับเปลี่ยน
 
ส่งออกจีน ก.ค. ฟื้นช่วงสั้น ระยะยาวยังถูกดดันจาก Trade war 
ยอดส่งออกของจีน เดือน ก.ค. 2562  พลิกกลับมาขยายตัว  3.3%yoy ผิดจากที่ตลาดคาดว่าจะหดตัวราว 2%   สาเหตุที่ส่งออกในเดือนนี้ขยายตัว เป็นเพราะตลาดอื่นนอกเหนือจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะประเทศเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และยุโรป เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเร่งส่งออกสินค้าเพื่อพัฒนาโครงการเส้นทางสายไหม (Belt and Road Initiative: โครงการพัฒนาการขนส่งและเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของจีน)
 
ขณะที่การส่งออกไปตลาดสหรัฐ (สหรัฐเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของจีนราว 15.6%ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด อันดับ 2 คือ ญี่ปุ่นราว  7.8%)   แม้เดือนนี้จะหดตัว 6.5%  แต่น้อยลงจากที่หดตัว 7.8% เดือน มิ.ย.  และช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าส่งออกของจีนจะชะลอตัว เนื่องจากยังคงเผชิญกับปัจจัยกดดัน โดยเฉพาะ จาก  Trade War ระหว่างสหรัฐและจีนที่ขึ้นภาษีนำเข้าไปแล้ว 3 รอบ   และเตรียมขึ้นรอบที่ 4  นำมาสู่ และนำมาสู่สงครามค่าเงิน(Currency War) และประเด็นสงครามเทคโนโลยี (Tech War)  สัปดาห์หน้าจะยังมีน้ำหนัก  คือ  13 ส.ค. สหรัฐจะมีผลคว่ำบาตรบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของจีน คือ ห้ามหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทำธุรกิจกับ  Huawei (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม และมือถืออันดับ 1สัญชาติจีน) , ZTE (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่สัญชาติจีน)   Hikvision และ Dahua (ผู้ผลิตกล้องวงจรปิด)  ถือเป็นความเสี่ยงต่อหุ้นกลุ่ม Tech ในจีน 
 
คัดหุ้นเด่น ... เน้นงบดี + เติบโตสูงต่อเนื่อง
ฝ่ายวิจัย ASPS รวบรวมการรายงานผลประกาศการงวด 2Q62 โดยนับถึงช่วงค่ำวานนี้ พบว่ามีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบแล้ว 156 บริษัท คิดเป็น 43% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.20 แสนล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศงบฯ พบว่ากำไรอ่อนตัวลงจากงวด 1Q62 ทั้ง QoQ และ YOY ซึ่งหากการประกาศออกมาสิ้นเสร็จในวันที่ 15 ส.ค. เชื่อว่ากำไรสุทธิรวมงวดนี้จะลดลงทั้ง QoQ และ YOY ตามที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ หลักๆ จะกดดันจากกำไรที่ลดลงของกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี ตามสถานการณ์ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัว รวมไปถึงการบันทึกค่าใช้จ่ายพนังงาน ตาม พรบ. แรงงานฉบับใหม่ 
ภายใต้ภาพรวมที่ไม่สดใส ฝ่ายวิจัย ASPS จึงต้องคัดสรรหุ้นอย่างพิถีพิถันมากขึ้น และวันนี้จุงแนะนำ 2 หุ้น MCS PLANB เป็น Top Pick โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
 
•    MCS(Buy FV@B 9.00) มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯและยกระดับมูลค่าพื้นฐานขึ้น เนื่องจากกำไรงวด 2Q62 ออกมาดีกว่าคาด โดยงวด 2Q62 ที่ประกาศออกมาเช้านี้ กำไรสุทธิเติบโตมากถึง 71.01% QoQ อยู่ที่ 118 ล้านบาท หนุนจากจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการส่งมอบสินค้า ขณะที่งานใหม่ทยอยรับต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีจำนวน 5 โครงการ อาทิ Shibuya, Kudan Kaikan, และ Turanomon Azabudai ปริมาณส่งมอบรวม 8.2 หมื่นตัน นอกจากนี้ MCS ยังมีงานที่ต่อเนื่องจากปีก่อน และงานที่รอทำสัญญาอีกหนึ่งโครงการใหญ่ ดังนั้นเมื่อรวมทุกโครงการประเมินว่า Backlog จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 1.5 แสนตัน จาก 3.0 หมื่นตัน ณ สิ้นปี 2561
ระดับ Backlog ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ จะช่วยให้ MCS สามารถส่งมอบงานปีละ 4.5 - 5 หมื่นตัน ครอบคลุมไปจนถึงปี 2565 และหนุนกำไรกลับมาเติบโตแข็งแกร่ง จากกำไร 351 ล้านบาทปี 2562 เพิ่มเป็น 515 ล้านบาทปี 2564 (เติบโตเฉลี่ยปีละ 21%) ราคาหุ้นปัจุบันเทียบพื้นฐานยังมีความน่าสนใจสูง พร้อมคาดหวัง Dividend Yield 6-8% ต่อปี แนะนำ “ซื้อ”
 
•    PLANB (Buy FV@B 10.40) ผลการดำเนินงานงวด 2Q62 จะประกาศในวันที่ 14 ส.ค. คาดกำไรทำจุดสูงสุดใหม่เติบโต  20% YoY และ 19% QoQ  เท่ากับ 183 ล้านบาท หนุนหลักจากการขยายพื้นที่ให้บริการสื่อโฆษณาโดยเฉพาะสื่อโฆษณาดิจิตอล เช่น โครงการ Central World Connect, Bangkok Jam, Paragon Motion Block ส่งผลให้อัตราการใช้สื่อของ PLANB เพิ่มขึ้นเป็น 75% จาก 67% ใน 1Q62 และสูงกว่า 2Q61 ที่ทำได้ 73%
 
ส่วนทิศทางผลประกอบการต่อจากนี้ นอกเหนือจาก 1. ความร่วมมือกับผู้เล่นรายใหญ่อย่าง VGI จะเพิ่มอำนาจการต่อรองกับลูกค้าและเอเจนซี่มากยิ่งขึ้นแล้ว เม็ดเงินที่ PLANB ได้รับจากการขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ VGI จำนวน 2.3 พันล้านบาท จะเกิดการลงทุนขยายพื้นที่ให้บริการสื่อโฆษณา  ส่งผลกำลังการผลิตสื่อโฆษณาเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยราว 15-20% ต่อปี รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดสื่อรูปแบบใหม่ที่จะสามารถแย่งชิงเม็ดเงินโฆษณาได้เพิ่มขึ้น 2. PLANB ยังได้สิทธิถ่ายทอดสดการแข่งขัน “โอลิมปิก โตเกียว 2020” จำนวน 4 รายการ รวมไปถึงสิทธิบริหารผู้สนับสนุน (Sponsorship) และสิทธิในการบริหารคอนเทนต์ซึ่งเป็นสิ่งที่ PLANB มีความเชี่ยวชาญ และหนุนให้ผลประกอบการในปี 2563-2565 เติบโตโดดเด่น ราคาหุ้นมี Upside สูงถึง 20.2%  จากมูลค่าพื้นฐาน 10.40 บาท แนะนำ “ซื้อ”
หุ้นปันผลเด่น เป้าหมายถัดไปของ Fund Flow
 
ประเด็นสงครามการค้าจีนกับสหรัฐ ส่งผลให้นักลงทุนพักเงินในสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างทองคำ (ราคาสูงสุดอยู่ในรอบ 6 ปี) และตลาดตราสารหนี้มากจนกดดันผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุ และที่สำคัญล่าสุด Bond Yield 10 ปี ลงมาทำจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 1.53% ลดลงจาก 2.51% ในช่วงปลายปี 2561 หรือลดลงมาแล้วกว่า 98 bps. (ytd)
 
ประเด็น Trade War ทำให้หลายๆประเทศออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางทั่วโลกหันมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อลดทอนผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น กลุ่ม TIP เอง ในปี 2562 นี้ ปรับดอกเบี้ยลงมาทุกประเทศ รวมถึงไทยปรับลดดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 1.50% ณ วันที่ 7 ส.ค. 2552 ภาวะเช่นนี้หทำให้เกิดส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนการลงทุนจากตลาดทุน กับ ตลาดตราสารหนี้ พร้อมกับหนุน Market Earning Yield Gap กว้างขึ้น
 
 
เดิมฝ่ายวิจัยฯประเมินดัชนีเป้าหมาย จากค่าเฉลี่ย Market Earning Yield Gap ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 4.28% Bond Yield 1 ปี 1.80% (ช่วงที่ปรับประมาณการกำไร มิ.ย. 2562) จะสามารถคำนวณกลับมาเป็นค่า PER ที่เหมาะสมที่ 16.45 เท่า เมื่อคูณ EPS62F ที่ 103.32 บาท/หุ้น เทียบเท่า SET Index 1,700 จุด
และเมื่อมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาที่ 1.50% ปรับสมมุติฐานใหม่ กำหนดให้ Bond Yield 1 ปี เท่ากับ 1.5% (Bond Yield ระยะสั้นมักจะแปรผันตามดอกเบี้ยนโยบาย) และใช้ Market Earning Yield Gap เท่าเดิมคือ 4.28% จะให้ค่า PER สำหรับตลาดหุ้นได้สูงถึง 17.30 เท่า (เทียบเท่า SET Index 1,787 จุด)
 
การลดดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวจึงถือเป็นการเปิด Upside ให้กับตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามการที่จะปรับขึ้นไปดังกล่าวจำเป็นต้องมีเม็ดเงินลงทุนที่มากพอเป็นแรงหนุน เฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ และสถาบันในประเทศ
 
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ยังให้ความสำคัญกับหุ้นที่สร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง ซึ่งน่าจะเป็นเป้าหมายแรกๆ ของเม็ดเงินลงทุนที่จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นและมีโอกาส Outperform ตลาดได้ดีก่อนการจ่ายปันผลระหว่างกาล โดยฝ่ายวิจัยฯคัดกรองในเชิงปริมาณ หุ้นปันผลเด่น ผันผวนต่ำมีดังนี้ 
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!