หมวดหมู่: ธปท.

1aaak3วชิรา อารมย์ดี


ธปท.ตั้ง KTAM ดูแลกองทุน BSF ยันลงทุนแต่ Invesment grade เท่านั้น

  ธปท. ตั้ง KTAM เป็นผู้จัดการกองทุน BSF ย้ำลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดีระดับ Investment grade เท่านั้น  และต้องระดมทุนจากแหล่งอื่นก่อน 50% เผยหลังออกนโยบายทำนลท.เชื่อมั่นตลาดบอนด์มากขึ้น

นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงาน กรอบการลงทุน และกรอบการบริหารความเสี่ยงของกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้(Corporate Stabilization Fund : BSF) ว่า ธปท.ได้แต่งตั้งให้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย (KTAM) เป็นผู้จัดการกองทุน BSF

  โดย KTAM จะทำหน้าบริหารจัดการกองทุน โดยลงทุนตามมติที่คณะกรรมการลงทุนกำหนด รวมถึงรายงานการปรับ credit rating หรือแนวโน้ม rating ของตราสารหนี้ที่ BSF ลงทุน และรายงานผลการดำเนินงานทุกเดือนบนเว็บไซต์

  สำหรับปัจจุบันธปท. ได้จัดตั้งกองทุนดังกล่าวแล้ว โดยมีคณะกรรมการกำกับกองทุน (Steering Committee : SC) โดยจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย กรอบการลงทุนและกรอบการบริหารความเสี่ยง คัดเลือก บลจ. / Trustee / Auditor และกำกับคณะกรรมการลงทุน (Invesment Committee : IC) โดยคณะกรรมการชุดนี้ จะประกอบด้วย ปลัดคลัง ผู้ว่าการธปท. ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

 ส่วนคณะกรรมการลงทุน (Invesment Committee : IC) นั้น จะมีหน้าที่คัดเลือกตราสารหนี้ภายใต้กรอบการลงทุนที่ SC กำหนด คัดเลือกที่ปรึกษา รายงานผลการดำเนินการให้ SC ทราบทุก 3 เดือนสำหรับคณะกรรมการชุดนี้ ประกอบด้วย ธปท. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สบน. และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

  นางสาววชิรา กล่าวว่า ส่วนผู้ที่มีสิทธิขอเข้าร่วม BSF ได้นั้น จะต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนและประกอบธุรกิจในไทย ยกเว้น รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากกระทรวงการคลัง หรือหน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว และจะต้องไม่เป็นสถาบันการเงิน และกลุ่มธุรกิจของสถาบันการเงิน

 ด้านสถานะการเงินนั้น จะต้องเป็นบริษัทที่มีปัญหาสภาพคล่องชั่วคราว มีแนวโน้มดำเนินธุรกิจต่อได้หลังโควิด-19 มีแผนจัดหาเงินทุนในอนาคต ต้องมีหนังสือรับรองว่าสถาบันการเงินจะไม่ลดวงเงินสินเชื่อเดิม หรือ เรียกหนี้คืนก่อนกำหนดตลอดช่วงที่ BSF ลงทุน

  ขณะที่การจัดอันดับเครดิตนั้น จะต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท Issuer Rating ต้องเป็นInvestment grade ก่อนยื่นขอไม่เกิน 1 เดือน และหากได้รับการจัดอันดับจากหลายที่ให้ยึดอันดับที่ต่ำกว่าเป็นหลัก

  สำหรับตราสารหนี้ที่เข้าเกณฑ์นั้น จะต้องมียอดคงค้างก่อนวันที่ 19 เม.ย. นี้ หรือนับจากวันจัดตั้งBSF และมีวันครบกำหนดไม่เกิน 31 ธ.ค.64 เป็นตราสารหนี้ที่เสนอขายทั่วไป แต่ไม่รวมตราสารหนี้และตั๋วเงินที่ขายในวงจำกัดต่ำกว่า 10 คน

 ทั้งนี้ ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจาก BSF นั้น บริษัทจะต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งอื่นก่อนไม่น้อยกว่า 50% โดยส่วนที่ 1 อย่างน้อย 20% จะต้องมาจากการออกตราสารใหม่อายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ขายให้ผู้ถือกลุ่มต่างๆ ยกเว้นสถาบันการเงิน กลุ่มที่ 2 อย่างน้อย 20% โดยการขอสินเชื่อใหม่จากสถาบันการเงิน หรืออกตราสารใหม่อายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ให้กับสถาบันการเงิน

 อย่างไรก็ตาม หากดำเนินการส่วนที่ 1 และ 2 แล้วยังไม่ถึง 50% ให้จัดหาจากแหล่งอื่นได้ เช่นเจ้าของ ผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทแม่ เป็นต้น

 สำหรับรูปแบบ การให้ความช่วยเหลือ โดยกองทุน BSF จะลงทุนไม่เกิน 50% ของยอดตราสารหนี้ที่ครบกำหนด โดยกองทุนจะให้สภาพคล่องผ่านการลงทุนในหุ้นกู้ออกใหม่ ที่มีคุณสมบัติประกอบด้วย อายุไม่เกิน 270 วัน มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร (issue rating) ในระดับที่ลงทุนได้(invesment grade) เป็นตราสารหนี้ที่ไม่ซับซ้อน และไม่ด้อยสิทธิ กรณีผู้ออกตราสารหนี้ให้หลักประกันแก่ผู้ถือหุ้นกู้อื่นที่ออกในคราวเดียวกัน หุ้นกู้ที่ bsf ลงทุนต้องได้รับหลักประกันที่ไม่ด้อยกว่า

  สำหรับผู้ที่ได้รับเงินจาก BSF นั้น จะต้องนำเงินที่ได้รับไปไถ่ถอนตราสารหนี้เดิมที่ครบกำหนด หากยังไม่ได้ดำเนินการไถ่ถอนให้นำเงินไปฝากไว้ในบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา และต้องเตรียมวางแผนจัดหาเงินทุนในระยะยาว

  ทั้งนี้ เงินที่ได้จะไม่สามารถซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิจากผู้ถือหุ้นเดิม ไม่สามารถลดทุน เว้นแต่ทำเพื่อล้างขาดทุนสะสมและมีการเพิ่มทุนใหม่ ไม่สามารถนำไปชำระหนี้ก่อนครบกำหนด หรือให้กู้เพิ่มแก่กรรมการและผู้ถือหุ้น

  นอกจากนี้ ยังไม่สามารถชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด หรือให้กู้เพิ่มแก่บริษัทในกลุ่ม เว้นแต่เป็นไปเพื่อธุรกิจปกติ รวมถึงไม่

  ด้านการบริหารความเสี่ยงของกองทุน BSF ด้านการลงทุนนั้น สัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ต่อวงเงินรวม 400,000 ล้านบาท แต่ละรายไม่เกิน 3% ของวงเงินรวม แต่ละกลุ่มธุรกิจไม่เกิน 10% ของวงเงินรวม ลงทุนในตราสารหนี้ไม่เกิน 10% ของหนี้สินทางการเงินของแต่ละบริษัทที่มาขอรับความช่วยเหลือ

  ขณะเดียวกัน การบริหารสภาพคล่องที่ BSF มีผ่านการลงทุนในเงินฝากหรือสินทรัพย์อื่น เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลตามที่คณะกรรมการลงทุน (IC) กำหนด

  นางสาววชิรา กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุนนี้ เพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ เพื่อช่วยให้ภาครัฐมีเครื่องมือไว้พร้อมใช้ในกรณีจำเป็น เปรียบได้กับการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามไว้รองรับกรณีที่การระบาดเพิ่มขึ้นจนโรงพยาบาลหลักไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้เพียงพอ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมให้มี last resort ในการเข้าไปช่วยเสริมสภาพคล่อง โดยไม่ได้ช่วยทั้งหมดหรือช่วยทุกรายที่เข้ามาขอรับความช่วยเหลือ ถ้ามีคนมาใช้น้อยก็จะยิ่งดี เพราะหมายความว่าตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนทำหน้าที่ได้ตามปกติ

  สำหรับ สถานการณ์ตราสารหนี้ ในปัจจุบัน พบว่า เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นมากกว่ามี.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากขณะนั้นมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประชาชนไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจ และมีความต้องการถือเงินสดมากขึ้น และเริ่มเห็นผลกระทบต่อตราสารหนี้ โดยนักลงทุนมีความต้องการซื้อตราสารหนี้ลดลงมาก รวมถึงการเทขายสินทรัพย์ในช่วงสั้นๆ ทำให้ตลาดมีสภาพคล่องจำกัด ราคาตราสารหนี้ลดลงเร็ว จนส่งผลให้คนไม่กล้าลงทุนในตราสารหนี้ดังกล่าวทำให้ ธปท.จึงออกมาตรการดังกล่าวออกมา และส่งผลให้ความเชื่อมั่นเริ่มปรับดีขึ้น

 “ตอนนี้ความมั่นใจนักลงทุนเริ่มกลับมา มากกว่าเดือนมี.ค. โดยการจัดตั้งกองทุนนี้เพราะเรามองไปข้างหน้า และเพื่อต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องติดตามสถานการณ์โควิด-19 อย่างใกล้ชิดต่อไป”นางสาววชิรา กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย-

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!