หมวดหมู่: ธปท.

1boa11


ธปท.ชี้แจงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ที่เป็นธรรมมากขึ้นและช่วยลดภาระของประชาชน

​​    ​นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่านับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ที่คิดบนฐานของเงินต้นของค่างวดที่ผิดนัดชำระจริง สถาบันการเงินได้เริ่มใช้ไปแล้ว (เดิมคิดจากเงินต้นคงค้างทั้งหมด) การปรับปรุงในครั้งนี้จะช่วยให้แนวปฏิบัติในเรื่องนี้เป็นธรรมมากขึ้นและช่วยลดภาระของประชาชน รวมทั้งลดโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ซึ่งแนวทางใหม่นี้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่ต่างประเทศใช้กัน ทั้งนี้ ประชาชนจะได้รับสิทธิจากการปรับปรุงในครั้งนี้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปขอแก้ไขสัญญา

ไม่รวมงวดชำระในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

      นางธัญญนิตย์ ชี้แจงว่า “เดิมนั้นการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะคิดบนฐานของ 'เงินต้นคงค้างทั้งหมด'

       สมมติว่าเรากู้ซื้อบ้าน 20 ปี 240 งวด ช่วง 2 ปีแรกผ่อนชำระดีมาโดยตลอด งวดที่ 25 มีปัญหาผ่อนชำระไม่ได้ สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด หรือเงินต้นในค่างวดที่ 25 ถึงงวดที่ 240

        ในขณะที่การคำนวณที่ปรับปรุงใหม่จะให้คิดบนฐานของ 'เงินต้นในค่างวดที่มีการผิดนัดชำระจริง' เท่านั้น โดยจะไม่รวมเงินต้นในค่างวดตามสัญญาในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง พูดง่ายๆ คือ การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่จะคิดบนฐานของเงินต้นในงวดที่ 25 เท่านั้น โดยจะไม่รวมเงินต้นในงวดที่ 26-งวดที่ 240

      หลักคิดสำคัญในเรื่องนี้ คือ การกำหนดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องคำนึงถึงความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ (credit risk) และความสามารถในการจ่ายของลูกหนี้ไปด้วยกัน ถ้าสูงเกินไปอาจเป็นต้นตอที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ได้ (affordability risk)”

​​

ลดผลกระทบการจ่ายล่าช้าช่วงโควิดและช่วยสถาบันการเงินให้มั่นคงขึ้นในระยะยาว

       นางธัญญนิตย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “สถานการณ์ปัจจุบันที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้รายได้ของประชาชนจำนวนมากลดลง จึงมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่อาจจะจ่ายค่างวดล่าช้าหรือไม่สามารถจ่ายได้ในช่วงนี้

       ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่จะช่วยให้คนไทยมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้โดยรวมลดลง”

      “การปรับปรุงครั้งนี้นอกจากจะทำให้เป็นธรรมมากขึ้นและช่วยลดภาระจ่ายของประชาชนแล้ว จะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นมากขึ้นด้วยว่าระบบการธนาคารของไทยมีแนวปฏิบัติที่โปร่งใส ตรงไปตรงมา ซึ่งหมายความว่าการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินจะมั่นคงขึ้นในระยะยาว”

คนที่ผิดนัดก่อน 1 พ.ค. 2563 เข้าข่าย

     สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 พ.ค. 63 สถาบันการเงินสามารถนำหลักการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดแบบใหม่มาใช้ประกอบการพิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ตามสมควร

       หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของแบงก์ชาติ โทร.1213

ตอบข้อสงสัยเรื่อง คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้อย่างไรให้เป็นธรรม

     วันนี้ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ได้เผยแพร่บทความเรื่อง 'คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้อย่างไรให้เป็นธรรม' ซึ่งจะอธิบายหลักคิดสำคัญที่นำมาสู่การปรับปรุงในครั้งนี้ รวมทั้งข้อมูลรายละเอียดแนวปฏิบัติที่ดีในต่างประเทศ ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เปรียบเทียบ นอกจากนี้จะมีบทวิเคราะห์ที่จะให้คำตอบว่า ทำไมดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ที่ถูกลง จะช่วยให้การผิดนัดชำระหนี้ของประชาชนลดลง ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดบทความได้ที่ website ของศูนย์ผู้ใช้บริการทางการเงิน 1213

ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้คิดอย่างไรให้เป็นธรรม

การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ ลูกหนี้ได้ประโยชน์เต็ม ๆ

     การคิดดอกเบี้ยแบบใหม่ เป็นการคิดบนฐานของค่างวดที่ผิดนัดชำระจริง ไม่ได้คิดจากเงินต้นคงค้างทั้งหมด ซึ่งเริ่มใช้ไปแล้วตั้งแต่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา

     การคิดดอกเบี้ยแบบใหม่จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ลดภาระของประชาชน และลดโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ ที่สำคัญ ประชาชนจะได้รับสิทธิจากการปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยแบบใหม่นี้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปขอแก้ไขสัญญาใดๆ เพิ่มเติมครับ

คิดดอกเบี้ยแบบใหม่ คำนวณยังไง ?

     เดิมการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะคิดบนฐานของ 'เงินต้นคงค้างทั้งหมด'สมมติว่าเรากู้ซื้อบ้าน 20 ปี 240 งวด ช่วง 2 ปีแรกผ่อนชำระดีมาโดยตลอด งวดที่ 25 มีปัญหาผ่อนชำระไม่ได้ สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด หรือเงินต้นในค่างวดที่ 25 ถึงงวดที่ 240

     แต่มาดูการคำนวณแบบใหม่จะคิดบนฐานของ 'งินต้นในค่างวดที่มีการผิดนัดชำระจริง'เท่านั้น ไม่รวมเงินต้นในค่างวดตามสัญญาในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง พูดง่ายๆ คือ การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่จะคิดบนฐานของเงินต้นในงวดที่ 25 เท่านั้น โดยจะไม่รวมเงินต้นในงวดที่ 26-งวดที่ 240

    หลักคิดสำคัญในเรื่องนี้ คือ การกำหนดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องคำนึงถึงความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ (credit risk) และความสามารถในการจ่ายของลูกหนี้ไปด้วยกัน ถ้าสูงเกินไปอาจเป็นต้นตอที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ได้ (affordability risk) นั่นเองครับ

     ทีนี้ก็จะมีคำถามว่า คนที่ผิดนัดก่อน 1 พ.ค. 63 ใช้วิธีคิดดอกเบี้ยแบบใหม่ด้วยหรือไม่?

      การผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 พ.ค. 63 สถาบันการเงินสามารถนำหลักการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดแบบใหม่มาใช้ประกอบการพิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ตามสมควรครับ

     และหากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของแบงก์ชาติ โทร.1213

      #แบงก์ชาติ #ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ #คิดดอกเบี้ยแบบใหม่

 dropdown

ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ คิดอย่างไรให้เป็นธรรม

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!