หมวดหมู่: คลัง

1aBmof1


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หาแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้

      นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่ได้รับการชะลอการชำระหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พ.ร.ก. Soft Loan) รวมทั้งมีแนวทางที่ชัดเจนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และลูกหนี้รายย่อยที่อยู่ระหว่างได้รับการพักชำระหนี้ตามมาตรการของแต่ละสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. แนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการชะลอการชำระหนี้ตาม พ.ร.ก. Soft Loan

    กระทรวงการคลังมอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเร่งติดต่อและหารือกับลูกหนี้แต่ละรายเพื่อกำหนดการช่วยเหลือที่สอดรับกับสถานการณ์ของลูกหนี้แต่ละราย (tailor-made) ตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีกรอบการดำเนินงานสำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

    1.1 ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังได้รับผลกระทบสูงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) และยังไม่สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้หรือมีรายได้ไม่แน่นอน สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถขยายระยะเวลาการชะลอการชำระหนี้ทั้งเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 6 เดือนนับจากสิ้นปี 2563 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวมีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย

    1.2 ผู้ประกอบการ SMEs ที่เริ่มกลับมาดำเนินธุรกิจได้แต่ธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวเนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เพื่อให้เงื่อนไขการจ่ายหนี้เหมาะสมกับสถานการณ์ของลูกหนี้และลดภาระของลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวในระยะยาว

    1.3 ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความพร้อมและสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะรับชำระหนี้ตามปกติ เพื่อลดภาระของลูกหนี้ตลอดระยะเวลาสัญญาเนื่องจากลูกหนี้ยังต้องรับภาระดอกเบี้ยในช่วงที่ได้รับการพักชำระหนี้

  1. แนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับการพักหนี้ตามมาตรการอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

    กระทรวงการคลังมีนโยบายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการพักชำระหนี้ภายใต้มาตรการอื่น ๆ ตามสถานการณ์ของลูกหนี้แต่ละรายและบริบทของระบบเศรษฐกิจ ดังนี้

    2.1 การขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ให้กลุ่มลูกหนี้ที่ยังไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้หรือมีรายได้ไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น พักชำระหนี้เงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยในระยะเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ลูกหนี้แต่ละราย เป็นต้น แต่ไม่ควรเกิน 6 เดือนนับจากสิ้นปี 2563 เพื่อบรรเทาภาระในการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจติดตามเพื่อดูแลลูกหนี้แต่ละรายอย่างใกล้ชิดและคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกหนี้ในระยะยาวด้วย

    2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้เงื่อนไขการชำระหนี้สะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ในช่วงเวลานี้และให้ลูกหนี้ดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ ให้แก่ลูกหนี้ ทั้งผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อย โดยให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ และเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น การลดค่างวด การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เป็นต้น และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเข้าร่วมโครงการ DR BIZ สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ธุรกิจ พร้อมทั้งให้ความรู้และทักษะในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับบริบทของระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

    2.3 การให้สินเชื่อเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจให้เหมาะสมกับพัฒนาการของแต่ละอุตสาหกรรม และเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประชาชนรายย่อยเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหรือใช้จ่ายในการดำรงชีพ เช่น การเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการที่เริ่มกลับมาดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการในพื้นที่หรืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง การเพิ่มแหล่งทุนให้องค์กรการเงินชุมชนและวิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การเพิ่มแหล่งทุนให้แก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องการผันตัวเองเป็นผู้ประกอบการ การเป็นแหล่งทุนให้ผู้ประกอบการในการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เป็นต้น

    2.4 การให้แรงจูงใจแก่ลูกหนี้ที่มีศักยภาพกลับมาชำระหนี้ตามปกติเพื่อลดภาระหนี้ของลูกหนี้ตลอดระยะเวลาสัญญาและป้องกันปัญหาวินัยทางการเงิน (Moral Hazard) เช่น การลดดอกเบี้ย การคืนเงินบางส่วนเพื่อเป็นรางวัลให้ลูกหนี้ที่กลับมาชำระหนี้เป็นปกติหรือมีประวัติการชำระหนี้ดี เป็นต้น เพื่อช่วยลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้อีกด้วย

               ทั้งนี้ ความร่วมมือของลูกหนี้และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้การดำเนินการตามแนวทางข้างต้นมีประสิทธิภาพสูงสุดและบรรลุวัตถุประสงค์ กระทรวงการคลังมอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือเป็นภารกิจสำคัญในการติดตามช่วยเหลือลูกหนี้ทุกรายอย่างใกล้ชิด และขอความร่วมมือให้ลูกหนี้ติดต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

               กระทรวงการคลังมีความมุ่งหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างเต็มกำลังความสามารถและคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกหนี้ ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และลูกหนี้รายย่อยได้อย่างตรงจุดและตอบสนองความต้องการของลูกหนี้ได้อย่างแท้จริง และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เปลี่ยนสถานะเป็น NPLs ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มีเวลาเพียงพอในการปรับตัว ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังและการปรับโครงสร้างธุรกิจของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • • ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร 1213 หรือ https://www.1213.or.th/App/DebtCase
  • • ธนาคารออมสิน โทร 1115
  • • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร 0-2555-0555
  • • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร 0-2202-2000
  • • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร 0-2271-2929
  • • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร 1357
  • • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร 1302
  • • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร 0-2890-9999

ผลการดำเนินงานของรัฐบาลตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงการคลัง

๑. การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน จับกุมเจ้าหน้าที่ ๖,๐๐๒ ราย ธ.ก.ส. ตั้งคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำกทม. และประจำจังหวัด ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบประจำจังหวัด จัดทำระบบฐานข้อมูลหนี้นอกระบบ (นร.๑) เป็นข้อมูลของประชาชนที่เข้ามาขอความช่วยเหลือผ่านธ.ออมสินและธ.ก.ส.

๒. โครงการพิจารณาสินเชื่อ Soft Loan แก่ Non-bank มูลค่าโครงการ ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปแล้ว ๔,๙๔๐,๓๔๔ ราย

๓. กำหนดหลักเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงิน กยศ. กำหนดหลักเกณฑ์ช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ และไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด งดการขายทอดตลาด – ชะลอการบังคับคดี สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือผู้ค้ำประกัน มาตรการปรับเงินค่าครองชีพให้กับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างศึกษา เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากเดิม ๑,๒๐๐ บาท/เดือน เป็น ๑,๘๐๐ บาท/เดือน, ระดับ ปวช./ปวส. จากเดิม ๒,๔๐๐ บาท/เดือน เป็น ๓,๐๐๐ บาท/เดือน, อนุปริญญา/ปริญญาตรี จากเดิม ๒,๔๐๐ บาท/เดือน เป็น ๓,๐๐๐ บาท/เดือน ปรับเกณฑ์รายได้ต่อครอบครัวผู้กู้จากเดิมไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท/ปี เป็น ๓๖๐,๐๐๐ บาท/ปี เพื่อขยายฐานผู้กู้ยืมให้มากขึ้น

๔. ปรับปรุงระบบภาษีและการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย ออก พ.ร.ฎ.ลดภาษีที่ดินฯ พ.ศ. ๒๕๖๓ บรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในอัตราร้อยละ ๙๐ ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ ให้แก่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัยใช้ประโยชน์

๕. มาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย (โครงการบ้านดีมีดาวน์) สิ้นสุดโครงการมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วม ๑๑๙,๙๐๓ คน มีที่ได้รับสิทธิจำนวน ๑๙,๕๘๗ คน และที่ได้รับเงินสนับสนุนจำนวน ๑๙,๕๔๙ คน

๖. มาตรการยกเว้นอากรขาเข้าของที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

๗. โครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-๑๙ จ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ๓ เดือน (เม.ย. – มิ.ย. ๒๕๖๓) จำนวน ๑๕.๓ ล้านราย เป็นเงินกว่า ๑๕๙,๕๘๔ ล้านบาท

๘. โครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-๑๙ เพื่อช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายเงินเยียวยา ๑,๐๐๐ บาท/เดือน ๓ เดือน (๓,๐๐๐ บาท/คน) จ่ายเงินไปแล้วประมาณ ๓,๐๘๗ ล้านบาท ผู้ได้รับสิทธิประมาณ ๑.๐๓ ล้านราย

ชี้แจงประเด็นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลดูแล SMEs โดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

สาระสำคัญ : ชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องให้รัฐบาลดูแล SMEs จากการแชร์ข้อมูลของคุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธุ์ ในสื่อโซเชียลมีเดีย

1) เนื่องด้วยมีข้อเสนอแนะจากหลายภาคส่วน ให้รัฐบาลช่วยเหลือ SMEs ที่ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลในปัจจุบัน เช่น Soft Loan 500,000 ล้านบาท ของ ธปท. SMEs กว่า 90% เข้าไม่ถึง และขอให้รัฐบาลเร่งดูแลธุรกิจ SMEs อาทิ การพักชำระหนี้เป็นเวลา 2 ปี ปรับมาตรการให้ SMEs ที่อยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์สามารถกู้เงินมาเสริมสภาพคล่องได้จริง ตั้งกองทุน SMEs เพื่อให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่อยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์

2) เห็นควรใช้โอกาสนี้ประชาสัมพันธ์แนวทาง/มาตรการ และผลการดำเนินการช่วยเหลือ SMEs เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ต่อประชาชน

ข้อเท็จจริง :

  • • ปัจจุบันรัฐบาลได้มีมาตรการด้านการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ SMEs ดังนี้
  1. พ.ร.ก. Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยแบ่งการให้ความช่วยเหลือได้ ดังนี้

    1) มาตรการสินเชื่อเพิ่มเติม วงเงินรวม 500,000 ล้านบาท โดย ธปท. ให้สถาบันการเงินกู้ยืมในอัตรา0.01% ต่อปี เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้แก่ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อรวมไม่เกิน 500 ล้านบาท วงเงินไม่เกิน 20% ของยอดสินเชื่อคงค้างของลูกหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 คิดดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี โดย SMEs ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก

    2) พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้กับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธ.ค. 62 เพื่อให้ SMEs ไม่ต้องมีภาระในการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเป็นระยะเวลา 6 เดือน

  1. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS Soft Loan พลัส วงเงินค้ำประกัน 57,000 ล้านบาท โดย บสย. ค้ำประกันสินเชื่อให้กับ SMEs ที่มีคุณสมบัติตาม พ.ร.ก. Soft Loan คิดอัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปี ระยะเวลาค้ำประกัน 8 ปี โดยเริ่มค้ำประกันและเก็บค่าธรรมเนียมในต้นปีที่ 3 นับจากวันที่ได้รับสินเชื่อตาม พ.ร.ก. Soft Loan เพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อให้ SMEs เพิ่มขึ้น และสามารถปล่อยสินเชื่อในแก่ SMEs ได้ยาวขึ้น ทำให้เกิดความคล่องตัวในการอนุมัติสินเชื่อ และให้ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อตาม พ.ร.ก. Soft Loan ได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ

  • • รัฐบาลยังได้ดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือ SMEs ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังนี้
  1.        ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็น SMEs ทั่วไปและ SMEs ในธุรกิจท่องเที่ยวกลุ่มละ 10,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี และสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อต่อให้ SMEs วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ยร้อยละ 2% ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี โดยธนาคารออมสินจะปล่อยสินเชื่อให้ SMEs โดยตรงจำนวน 3,000 ล้านบาท และยังมีโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SMEs ขนาดเล็กในธุรกิจท่องเที่ยวและ Supply Chain วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท วงเงินไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลากู้ 5 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี
  2.        ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ดำเนินโครงการสินเชื่อ Extra Cash วงเงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับ SMEs ขนาดย่อมทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ใน 2 ปีแรก ระยะเวลากู้ 5 ปี
  3.          บสย. ดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 8 วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดย บสย. ค้ำประกันสินเชื่อให้กับ SMEs ทั่วไป วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย ในอัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปี ค้ำประกัน 10 ปี
  4. รัฐบาลยังมีโครงการช่วยเหลือ SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. โดยให้สินเชื่อแก่ SMEs ทั่วไป รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและที่เกี่ยวเนื่อง วงเงินต่อรายไม่เกิน 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ระยะเวลากู้ 7 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี

       นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ร่วมกับสมาคมสถาบันการเงินของรัฐจัดทำเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน.com และ ธปท. ได้จัดทำเว็บไซต์ www.bot.or.th/covid19 เพื่อรวบรวมมาตรการด้านการเงินของสถาบันการเงินในการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลและมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้มีติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตลอดจนแก้ไขปัญหาข้อติดขัดในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ และพร้อมที่จะออกมาตรการที่เหมาะสมมาดูแลเศรษฐกิจไทยได้อย่างทันการณ์ต่อไป

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!