หมวดหมู่: อุตสาหกรรม

 

Food Innopolis International Symposium 2020

กับการแสวงหาแนวทางสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน

          ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ระบุว่าภาวะวิกฤติ COVID-19 ได้ส่งผลให้มีประชากรที่ประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาเพิ่มขึ้นถึง 132 ล้านคนในปีนี้ และคาดว่าในปี ..2030 ประชากรกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลกจะไม่มีโอกาสบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ 

          นี่คือหนึ่งในหลากหลายเนื้อหาสาระที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารระดับโลก รวมถึงนักวิชาการจากประเทศไทย ได้นำข้อมูลมาอภิปรายแลกเปลี่ยนกันในงานสัมมนาออนไลน์ Food Innopolis International Symposium 2020 (FIIS2020) ภายใต้หัวข้อ “The Quest for Sustainable Food System” ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) 

 

11565 FIIS2020 ผศ ดร อัครวิทย์


 

          ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ซีอีโอเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) เปิดเผยว่าเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารอันดับที่ 11 ของโลก จึงจำเป็นต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านนวัตกรรมอาหารใหม่ๆ ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกตลอดเวลา การจัดงานครั้งนี้จึงถือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและกำหนดทิศทางด้านการพัฒนานวัตกรรมอาหารให้สอดคล้องกับบริบทโลก โดยผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องในวงการอาหาร รวมถึงนักวิชาการไม่จำเป็นต้องเดินทางไปประชุมถึงต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) ในภาวะวิกฤติ COVID-19” 

          ประเด็นสำคัญในเรื่องอาหารคือ การผลิตอาหารอย่างยั่งยืนเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลกในอนาคต ที่คาดว่าจะมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะผู้สูงวัย เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการผลิตอาหารเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีที่สุด ตั้งแต่เรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตอาหาร การเพาะปลูกวัตถุดิบ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การใช้ประโยชน์ทุกส่วนของวัตถุดิบ การลดปริมาณขยะจากการผลิตอาหาร รวมถึงการลดปัญหาการสูญเสียจากการผลิตอาหารซึ่งปัจจุบันมีมากถึง 30% ตลอดจนการจัดการด้านการขนส่งอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผศ.ดร.อัครวิทย์ กล่าว

 

          FAO เร่งแก้ปัญหาทุพโภชนาการ 

 

11565 FIISS2020 ชรีดาห์

 

          นายชรีดาห์ ธาร์มาปูรี เจ้าหน้าที่อาวุโส ด้านความปลอดภัยและโภชนาการอาหาร องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กล่าวว่าในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ทำให้อัตราความหิวโหยของประชากรลดลง แต่หลังจากปีค.. 2014 เป็นต้นมา อัตรานี้กลับค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น จนในปี .. 2019 ทวีปเอเชียมีจำนวนประชากรที่ประสบปัญหาทุพโภชนาสูงที่สุด ซึ่งแนวโน้มนี้มีทีท่าจะแย่ลงไปอีก

          ช่วง COVID-19 แม้ว่าประเทศแถบเอเชียจะสามารถรับมือกับการระบาดของโรคได้ค่อนข้างดี ทำให้ราคาอาหารในประเทศคงที่ไม่พุ่งสูงขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและอัตราการว่างงานที่เป็นผลกระทบจากวิกฤติในครั้งนี้ ก็ทำให้คนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้เท่าที่ควร จำเป็นที่ภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา สร้างระบบซัพพลายเชนที่มีความยืดหยุ่นยั่งยืนและเป็นธรรมมากขึ้น เพราะในขณะที่มีจำนวนเด็กขาดสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขของผู้ป่วยโรคอ้วนและโรคเบาหวานก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเช่นกัน

          นอกจากนี้ นายชรีดาห์ ยังเผยว่าสัดส่วนของประเภทของอาหารที่มนุษย์ควรบริโภค กับอาหารที่เราผลิตอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่สัมพันธ์กัน ทำให้ในปัจจุบันมีประชากรกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลกไม่ได้บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ กระบวนการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและที่ตั้งของภูมิประเทศนั้นๆ จะเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการของประชากรในแต่ละภูมิภาค นอกจากนี้ ผู้ผลิตอาหารยังควรตระหนักถึงกระบวนการทางเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารที่มีความยั่งยืน เช่น การลดก๊าซเรือนกระจกในการผลิต การลดขยะจากอาหาร การขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกลไกในการค้าอาหาร และความคุ้มครองทางสังคม ตลอดจนศึกษารูปแบบการบริโภคอาหารว่ารูปแบบดั้งเดิมเป็นอย่างไร ควรจะพัฒนาไปในทิศทางใด ซึ่งจำเป็นต้องมีการพิจารณาในเชิงนโยบายอย่างเร่งด่วนต่อไป

 

          พัฒนาแหล่งโปรตีนทางเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค

 

11565 FIISS2020 John

 

          นายจอห์น ดัตตัน (John Dutton) หัวหน้าโครงการ Uplink และกรรมการบริหาร World Economic Forum ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่าปัญหาระบบอาหารถือเป็นปัญหาใหญ่ที่โลกต้องเผชิญ อุตสาหกรรมอาหารครอบคลุมหลากหลายภาคส่วนจึงมีความซับซ้อนและต้องอาศัยทุกฝ่ายในการแก้ไข โดยอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบันนั้นขาดความยั่งยืนเป็นอย่างยิ่ง ประชากรกว่า 700 ล้านคนในภาคการเกษตรทั่วโลกมีความเป็นอยู่ที่ยากจน ขณะที่ประชากรอีกกว่า 2 พันล้านคนก็ประสบภาวะทุพโภชนาในรูปแบบต่างๆ ภายในปี ..2050 เราจำเป็นต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้น 50% เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลกซึ่งคาดว่าจะเพิ่มจำนวนเป็น 9.7 พันล้านคน ขณะเดียวกันในด้านของสิ่งแวดล้อม ภาคการเกษตรเป็นผู้สร้างก๊าซเรือนกระจกราว 20-40% ของโลก เราจึงต้องร่วมกันหาวิธีแก้ไขเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยสร้างระบบอาหารประสิทธิภาพสูงที่ครอบคลุมและยั่งยืน อีกทั้งยังส่งมอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค

          เพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนด้านอาหาร วิทยาการทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิรูประบบอาหารโลก โดยเฉพาะโปรตีนที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในปี .. 2050 ซึ่งนายจอห์น ดัตตัน ได้นำเสนอโซลูชั่น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) สรรหาแหล่งโปรตีนทางเลือกมาทดแทนเนื้อสัตว์ เช่น โปรตีนจากพืช แมลง และสาหร่าย (2) พัฒนากระบวนการผลิตโปรตีนในปัจจุบันให้มีความยั่งยืนมากขึ้น และ (3) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค โดยไม่เพียงลดการเกิดขยะอาหาร แต่ยังทำให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงแหล่งโปรตีนมากขึ้น ทั้งนี้ เขาได้เน้นย้ำว่า ระบบนิเวศอาหารในแต่ละภูมิภาคมีความสลับซับซ้อนแตกต่างกัน จึงไม่ได้มีโซลูชั่นที่สามารถใช้ได้กับทุกปัญหา แต่เราต้องสรรหาวิธีการมารับมือกับความท้าทายให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

          สำหรับ Uplink เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบ open-source ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการ crowd source นวัตกรรม ที่จะช่วยตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 ประการของสหประชาชาติ รวมถึงนวัตกรรมในด้านอาหารด้วย Uplink เปิดตัวครั้งแรกในงานประชุม World Economic Forum 2020 และประสบความสำเร็จอย่างสูง ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 5,000 ราย และมี Source Solutions กว่า 700 แห่ง

 

          การลดขยะอาหาร พร้อม Upcycle ผลิตภัณฑ์อาหาร กรณีศึกษาในสิงคโปร์

 

11565 FIISS2020 จิม

 

          นายจิม ฮวง (Jim Huang) ผู้อำนวยการ Crust Brewing ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอาหารโดยเน้นเรื่องการ Recycle และ Upcycle วัตถุดิบ กล่าวว่าสิ่งที่บริษัทฯ ดำเนินงานมาตลอดคือการลดปริมาณความสูญเสียจากอาหารและขยะอาหาร ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลก ทั้งภาวะโลกร้อน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนั้น บริษัทฯยังให้ความสำคัญในเรื่องของห่วงโซ่อุปทานอาหาร และการขนส่ง เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและความมั่นคงทางอาหาร โดยเทคโนโลยีที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันมีการวิจัยข้าว ขนมปัง ผลไม้ ผัก ธัญญาหาร มันฝรั่งอบกรอบ ด้วยการ Upcycle ให้เป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่

          ในสิงคโปร์ ขนมปังเป็นขยะอาหารที่มีมากที่สุด เราจึงเริ่มกระบวนการนำขนมปังเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น การนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเบียร์ นำแป้งที่ไม่ใช้แล้วไปผลิตเป็นคุกกี้ หรือแพนเค้ก รวมถึงการนำไฟเบอร์ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ เรายังได้เริ่มศึกษาการนำวัตถุดิบอื่นๆ มาใช้เพิ่มเติม เช่น การนำเห็ดหรือสาหร่ายเหลือทิ้ง มาผลิตเป็นวิตามินหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเนื่องจากมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มาก ทั้งนี้หัวใจของโมเดลธุรกิจของเรา ยึดหลักว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายและดีต่อสุขภาพ” 

          Crust Brewing ตั้งเป้าหมายอันท้าทายเกี่ยวกับความยั่งยืนไว้ว่า ต้องการจะมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะอาหารของโลกให้ได้ 1% ภายในปี 2030

 

          หลังวิกฤติ COVID-19 ปัญหาด้านอาหารอยู่ในระยะกลาง-ยาว

 

11565 FIISS2020 เอ็กซ์ตัน

 

          นายแอ็กซ์ตัน ซาลิม (Axton Salim) ผู้อำนวยการ PT Indofood Sukses Makmur Tbk ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่าในภาวะวิกฤติ COVID-19 ประเทศอินโดนีเซียกำลังเผชิญปัญหาใหญ่ 2 เรื่อง คือ ความมั่นคงทางอาหาร และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในประเทศ

          ความมั่นคงทางอาหาร เป็นเรื่องของการดูแลความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคให้ไม่ปนเปื้อนเชื้อโรคในกระบวนการการผลิต ขนส่งและจำหน่าย และการมีอาหารให้ประชากรบริโภคอย่างเพียงพอ โดยปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียยังต้องนำเข้าข้าวและข้าวโพดประมาณ 20% เพื่อตอบสนองความต้องการประชากรในประเทศ ในขณะที่มีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นถึง 30% รัฐบาลจึงต้องพยายามหามาตรการเพื่อให้ห่วงโซ่การผลิตอาหารดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในประเทศ ความเหลื่อมล้ำถูกขยายให้กว้างขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดีทำให้เกิดการเลิกจ้าง ส่วนผู้ที่ยังได้ทำงานก็มีรายได้น้อยลง ทำให้การบริโภคอาหารเป็นแค่เพียงการประทังความหิว คุณภาพและคุณค่าทางอาหารเป็นสิ่งที่ต้องละเลยไปก่อน

          ทั้งนี้ ตั้งแต่ก่อน COVID-19 ประชากรอินโดนีเซีย 7.7% มีปัญหาทุพโภชนาการ โดยประชากร 9% ไม่มีโอกาสบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้เด็กเกิดใหม่ของอินโดนีเซียปีละ 5 ล้านคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแคระแกรน หรือคิดเป็น 20% รัฐบาลอินโดนีเซียจึงมีโครงการวิจัยพืชที่สามารถบริโภคได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการวิจัยโปรตีนทางเลือก อื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเพิ่มการนำสมุนไพรท้องถิ่นมาใช้เสริมคุณค่าทางโภชนาการนายซาลิม กล่าวในตอนท้าย

 

A11565

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!