หมวดหมู่: สภาอุตสาหกรรม

FTIเกรยงไกร เธยรนกล


ทุนไทยจ่อลุย EEC ทั้ง'ปตท.-SCG-ทรู'รอกม.ผ่าน

       แนวหน้า : นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยความคืบหน้าการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในส่วนของภาคเอกชนไทย ว่า ขณะนี้บรรยากาศการลงทุนในพื้นที่อีอีซีถือว่าดี เพราะรัฐบาล เร่งเดินหน้าโครงการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ มีการเร่งรัดร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

      สำหรับ จำนวนผู้ประกอบการไทยที่ตัดสินใจลงทุนในพื้นที่ อีอีซีแล้วพบว่าเป็นธุรกิจอันดับต้นๆ ของประเทศ ที่ดำเนินการในพื้นที่ภาคตะวันออกอยู่ก่อนแล้ว อาทิ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือเอสซีจี และบริษัทที่มีความสนใจและต้องการเข้าไปทำฐานธุรกิจใหม่ อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ที่มีบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นตัวนำ

     สำหรับ ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเข้าลงทุนกิจการใหม่ จากการหารือยอมรับว่ามีค่อนข้างน้อย เพราะต่างรอที่จะศึกษาเทคโนโลยีโดยเฉพาะ การลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นสูง 10 อุตสาหกรรม เป้าหมาย ซึ่งไทยยังมีองค์ความรู้ไม่มากเมื่อเทียบกับต่างชาติ ดังนั้นต้องรอให้ต่างชาติมาลงทุนก่อน

     นายเจริญชัย ประเทืองสุขศรี รองเลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า ขณะนี้มีนักลงทุนหลายรายเริ่มเข้ามาถามถึงแผนการลงทุนอุตสาหกรรม เป้าหมายและสนใจจะเข้ามาศึกษาลู่ ทางการลงทุน เช่น อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมยานยนต์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่ม นักลงทุนที่เป็นบริษัทต่างชาติ เช่น ยุโรป อเมริกา จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น

       สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์อัจฉริยะที่ต้องมีการลงทุนชิ้นส่วนด้วยนั้น ขณะนี้มีผู้ประกอบการสนใจศึกษาการลงทุนผลิตแบตเตอรี่แล้วประมาณ 5 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาเงื่อนไขกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยในจำนวนนี้ เป็นการผลิตรถยนต์ ไฟฟ้า 100% จำนวน 1 ราย

      ส่วนในธุรกิจการบินนั้น แอร์บัส มีความชัดเจนในการลงทุนร่วมกับ การบินไทยแล้ว และซาบมีความชัดเจนเข้ามาลงทุน ในอีอีซีเช่นกัน จะทำให้มีธุรกิจการบินต่างๆ ตามเข้ามาลงทุนอีกหลายราย ส่วนอุตสาหกรรมยา และการแพทย์ เริ่มมีผู้ประกอบการเข้ามาคุย หลายราย ทั้งบริษัทผลิตยา การผลิตอุปกรณ์การแพทย์ และการบริการทางการแพทย์ ส่วน ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มีบริษัทต่างชาติ 2 ราย สนใจเข้ามาลงทุนผลิตโบกี้รถไฟ รองรับ โครงการขยายระบบรางของไทย

       "ผู้ประกอบการที่คาดว่าจะมาลงทุน 30 ราย ก็มองหาสิทธิประโยชน์สูงสุด บางราย ก็อาจจะไม่ได้เข้ามาคุยกับอีอีซีโดยตรง แต่อาจจะคุยกับผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ ในอีอีซี ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเกิดการลงทุนจริงตามแผนที่คาดการณ์อย่างแน่นอน เพราะ ที่ผ่านมามีเอกชนเข้ามาคุย เป็น 100 ราย" นายเจริญชัยกล่าว

      มีรายงานแจ้งว่า สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ วงเงินลงทุน 4 แสนล้านบาท คาดว่ารัฐจะทยอยประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมประมูลได้ช่วงต้นปี 2561 ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบ ไร้รอยต่อ และโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะ 3 กับโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3

'อีอีซี'เนื้อหอมเอกชนยักษ์จ่อลงทุน

     ไทยโพสต์ : พระราม 6 * ส.อ.ท.เผย แนวโน้มการลงทุนในอีอีซีไปได้สวย ผู้ประกอบการรายใหญ่จ่อลงพื้นที่เพียบ แต่ยอมรับรายย่อยยังรอร่วมทุนต่างชาติ แย้มเอกชนยานยนต์อัฉริยะเร่งหารือรายละเอียดบีโอไอรวม 5 ราย จ่อลงทุนรถอีวี 100% ในไทย

      นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยความคืบหน้าการลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ของภาคเอกชนไทยว่า ขณะนี้บรรยากาศการลงทุนในพื้นที่อีอีซีถือว่าดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลเร่งเดินหน้าด้านโครงสร้างพื้นฐานเต็ม กำลัง ประกอบกับมีการเร่งรัดร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

     สำหรับ จำนวนผู้ประ กอบการไทยที่ตัดสินใจลงทุนในพื้นที่อีอีซีแล้วพบว่าเป็นธุรกิจอันดับต้นๆ ของประเทศ ที่ดำเนินการในพื้นที่ภาคตะวันออกอยู่ก่อนแล้ว อาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี และบริษัทที่มีความสนใจและต้องการเข้าไปทำฐานธุรกิจใหม่ อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ที่มีบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นตัวนำ

      ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทย รายย่อยๆ ที่ต้องการเข้าลงทุน กิจการใหม่ จากการหารือยอม รับว่ามีค่อนข้างน้อย เพราะต่างรอที่จะศึกษาเทคโนโลยีจากบริษัทต่างชาติที่มีองค์ความรู้ของตนเอง และหากบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย เอกชนไทยก็พร้อมจะเข้าไปร่วมลงทุนด้วย เพราะต้องทำความเข้าใจว่าเป้าหมายการลงทุนของพื้นที่อีอีซี คือ การลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นสูง 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งไทยยังมีองค์ความรู้ไม่มากเมื่อเทียบกับต่างชาติ ดังนั้นต้องรอให้ต่างชาติมาลงทุนก่อน

       นายเจริญชัย ประเทืองสุขศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ครศ.) กล่าวว่า สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์อัจฉริยะที่ต้องมีการลงทุนชิ้นส่วนด้วยนั้น ขณะนี้มีผู้ประกอบการสนใจศึกษาการลงทุนผลิตแบตเตอรี่แล้วประ มาณ 5 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาเงื่อนไขกับสำนัก งานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยในจำนวนนี้เป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 100% จำนวน 1 ราย ส่วนในธุรกิจการบินนั้น แอร์บัสมีความชัดเจนในการลงทุนร่วมกับการบินไทยแล้ว และคาดว่าจะทำให้มีธุรกิจการบินต่างๆ ตามเข้ามาลงทุนอีกหลายราย.

EEC สะพัด 4 แสนล.ทั้งรถไฟฟ้า-ท่าเรือลงทุนปลายปี'61

     แนวหน้า : นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผย ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารอีอีซี (กรศ.) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน รับทราบหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไขและกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชน หรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 (พีพีพี) สำหรับขับเคลื่อน 5 โครงการลงทุนในอีอีซี วงเงินลงทุน 4 แสนล้านบาท คาดจะสามารถออกประกาศเชิญชวนภาคเอกชนร่วมประมูลได้ก่อน 2 โครงการในช่วงต้นปี 2561 ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ และโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา

      ส่วนอีก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะ 3 กับโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 ที่อยู่ระหว่างเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบิน ภาคตะวันออกที่อยู่ระหว่างการศึกษาจะเร่งรัดกระบวนการต่างๆ ให้แล้วเสร็จสามารถลงนามได้พร้อมกันภายในเดือนกันยายน 2561 ทั้ง 5 โครงการ

       นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี รองรับความต้องการแรงงานสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรม แห่งอนาคตของประเทศ ในพื้นที่ อีอีซีรวม 63,567 คน ภายใน 5 ปี (ปี 2560-64) เนื่องจากอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตส่วนใหญ่ ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญรองรับ จึงต้องเตรียมครูผู้ฝึก ในสาขาที่มีอยู่แล้ว

      โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่มีความต้องการแรงงาน 15,860 คน ยานยนต์ไฟฟ้าต้องการ 34,311 คน การผลิตชิ้นส่วน อากาศยานและโลจิสติกส์ต้องการ 11,331 คน และสาขาที่ประเทศไทยยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญอาจต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทางสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) และกระทรวงศึกษาธิการได้ใช้เป็นเงื่อนไขในการขอส่งเสริมการลงทุนว่าจะอนุญาตให้มหาวิทยาลัยจากต่างประเทศที่มีศักยภาพสูงสุดมาเปิดสาขาที่ตอบรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายได้

   "รมว.อุตสาหกรรมมอบหมายให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนโครงการศึกษาและจัดทำ หลักสูตรฝึกอบรมระดับปริญญาตรีและอาชีวศึกษาเป็น การพัฒนาครูผู้ฝึกและแผนขยายพลให้มีครูฝึกจำนวนมากขึ้นเพื่อขยายสู่หลักสูตร 4 หลักสูตรเข้าสู่ การเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วม โครงการ เพื่อเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ นโยบายอีอีซี ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้" นายคณิศ กล่าว

    นอกจากนี้ยังเตรียมรายงานให้ นายกรัฐมนตรีทราบแนวทางดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (TG MRO Campus) วงเงินลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าหมายเริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์ซ่อมบำรุงได้ภายในปี 2564

     "วันที่ 22 พฤศจิกายน จะมีการประชุมบอร์ดอีอีซี ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยวาระสำคัญที่จะนำ เสนอได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อ ให้บอร์ดอนุมัติในการหลักการ รวมทั้งเสนอแผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี รองรับความต้องการแรงงานในพื้นที่อีอีซี"นายคณิศ กล่าว

เคาะพีพีพี 5 ฉบับคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนอีอีซี

      ไทยโพสต์ : พระราม 6 * นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรม การนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ครศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ที่มีนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้รับทราบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชน หรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ.2560 (พีพีพี) โดยจะมีการประกาศลำดับรอง 5 ฉบับ ที่กำหนดรายละเอียดของโครงการ คุณสมบัติการคัดเลือกผู้ลงทุนโดยไม่ใช้วิธีการประมูล และจะนำมาใช้กับ 5 โครงการร่วมลงทุนกับเอกชนวงเงินลงทุน 400,000 ล้านบาท ที่คาดว่าจะลงนามสัญญาเดินหน้าก่อสร้างได้ภายในเดือน ก.ย.2561

     สำหรับ 5 โครงการ ประ กอบด้วย 1.โครงการพัฒนาสนาม บินอู่ตะเภา และเมืองการบินตะวัน ออก ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษา ความเหมาะสม 2.โครงการรถไฟ ความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ ปัจจุบันอยู่ระหว่าง เสนอบอร์ดอีอีซีอนุมัติหลักการ โครงการ 3.โครงการท่าเรือแหลม ฉบัง ระยะ 3 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) 4.โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนออีเอชไอเอ และ 5.โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ ตะเภา ปัจจุบันอยู่ระหว่างบอร์ดอีอีซีอนุมัติหลักการ.

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!